Documentation of Oct 6

การต่อสู้ของจำเลยคดี 6 ตุลาภายใต้กระบวนการ (อ) ยุติธรรมหลังการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519

ธนาพล อิ๋วสกุล ชัยธวัช ตุลาธน

เมื่อกี๊เพิ่งได้ดูภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา อีกปึกใหญ่ พลิกดูช้าๆทีละภาพจะได้จดจำภาพไว้ในสมอง. อยากให้เพื่อนๆ ได้ดูด้วยจริงๆ.

ครั้นพอหันไปมองเพื่อน ๆ ก็พบรอยยิ้มมาให้.

ผมยิ้มตอบไปอย่างไม่เต็มปากเท่าใดนัก.

กำลังนึกอยู่ว่า ถ้าป่านนี้ยังอยู่ที่มหาวิทยาลัย คงได้ร่วมงานรับเพื่อนใหม่. คงได้พุดคุยกันแทนที่จะได้แค่มองและส่งยิ้มให้แก่กัน. คงได้เห็นความกระตือรือร้น ความร่าเริง มีชีวิตชีวาของเพื่อนใหม่. นึกเลยไปถึงว่า เพราะเหตุการณ์ทารุณโหดร้ายเช้าวันนั้นทีเดียว เพื่อนเราจึงต้องหลั่งเลือดเป็นสะพานแก่คนรุ่นหลัง และผมต้องเข้ามานั่งยิ้มอยู่ในที่นั่งจำเลยอย่างนี้.

จดหมายจากจำเลยคดี “6 ตุลา” คนหนึ่ง ถึงนักศึกษาใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เขียนที่ศาลทหารชั่วคราว ณ กรมพลาธิการทหารบก ปากเกร็ด
วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2521

ก่อนจะเป็นจำเลย “6 ตุลา”[1]

การล้อมปราบนักศึกษาและประชาชนตามด้วยการรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อหยุดยั้งขบวนการฝ่ายซ้ายที่มีขบวนการนักศึกษาเป็นแกนนำ รัฐประหารครั้งนี้เป็น “ฉันทานุมัติ” ของชนชั้นนำไทย พวกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ มันเป็นส่วนหนึ่งของการ “ตัดไฟแต่ต้นลม” เพราะหากปล่อยให้ สถานการณ์พัฒนาต่อไป ประเทศไทยที่พวกเขารู้จักอาจจะเปลี่ยนไปอย่าง “พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน”[2]

ในสายตาของชนชั้นนำที่ก่อการกรณี 6 ตุลา การเมืองไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น “มีท่าทีว่าชาติบ้านเมืองจะถึงซึ่งความวิบัติจึงเป็นการจำเป็นที่จะต้องกอบกู้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้เหมาะสม”[3] ทั้งนี้พวกเขาวางแผนไว้ว่าจะใช้เวลาปฏิรูปการปกครอง “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ยาวนานถึง 12 ปี[4] เพื่อทำให้ราษฎรตระหนักในหน้าที่และความ รับผิดชอบของตนที่มีต่อชาติบ้านเมืองโดยยึดมั่นในสถาบันหลักได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ก่อนจะถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้เกิดสถานการณ์ตึงเครียดขึ้นมาหลายครั้ง กลุ่มฝ่ายขวาใช้ความรุนแรงต่อผู้นำนักศึกษาปัญญาชน กรรมกร ชาวนา และนักการเมืองฝ่ายซ้ายอย่างต่อเนื่อง เดือนสิงหาคม 2519 จอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้นำเผด็จการทหารที่ถูกขับไล่ออกไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ แต่ก็ถูกนักศึกษาชุมนุมต่อต้านจนต้องออกไปในเดือนเดียวกัน

แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงการ “โหมโรง” ไปสู่แผนปราบปรามครั้งใหญ่ วันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้นำเผด็จการทหารที่ถูกขับไล่ออกไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาอีกคนหนึ่ง กลับเข้ามาประเทศไทยโดยเตรียมการล่วงหน้าไว้อย่างดี เริ่มจากบวชเณรมาจากสิงคโปร์ มีข้าราชการระดับสูงนำโดย พล.ท.ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (แม่ทัพภาคที่ 1) ไปรอต้อนรับเณรถนอมที่สนามบินดอนเมือง ทั้งที่รัฐบาล เสนีย์ ปราโมชได้ประกาศขัดก่อนหน้านั้นว่าไม่เห็นด้วยที่จอมพลถนอมจะกลับมาประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอำนาจของรัฐบาลพลเรือนนั้นแทบไม่มีความหมาย จากนั้นเณรถนอมได้เดินทางตรงไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหารเพื่อเข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระญาณสังวร เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝ่ายขบวนการนักศึกษานำโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ’ไทย (ศนท.) ก็รู้ว่าการชุมนุมใหญ่ทันทีจะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้มีการรัฐประหารได้ จึงเริ่มเคลื่อนไหวด้วยการ “เคาะประตูบ้าน” เพื่อสอบถามความรู้สึกของประชาชน

ขณะที่สถานการณ์กำลังยื้อกันอยู่ระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับผู้ไม่เห็นด้วยกับการกลับมาของจอมพลถนอมนั้น ในวันที่ 23 กันยายน 2519 ก็เกิด “จุดเปลี่ยน” สำคัญขึ้นเมื่อเวลา 21.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จไปยังวัดบวรฯ เพื่อสนทนาธรรมกับพระญาณสังวร ซึ่งเคยเป็นพระพี่เลี้ยงเมื่อครั้งทรงผนวช ในระหว่างการเยือนดังกล่าว คุณหญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ได้แถลงว่า สมเด็จพระราชินีฯให้มาบอกว่า ได้ทราบว่าจะมีคนใจร้ายมาเผาวัดบวรฯ จึงทรงมีความห่วงใยอย่างมาก “ขอให้ประชาชนช่วยกันดูแลป้องกัน อย่าให้ผู้ใจร้ายมาทำลายวัด[5]

ต่อมาวันที่ 24 กันยายน นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้แถลงว่า “การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จวัดบวรฯ กลางดึกแสดงให้เห็นว่าพระองค์ต้องการให้พระถนอมอยู่ในประเทศต่อไป”[6]  ในคืนนั้นเองได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญขึ้น นั่นคือ การฆาตกรรมวิชัย เกษศรีพงษา และชุมพร ทุมไมย พนักงาน การไฟฟ้านครปฐมและสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ขณะกำลังติดโปสเตอร์ต่อต้านพระถนอมอยู่ แล้วนำศพไปแขวนคอในจังหวัดนครปฐมประหนึ่งว่าจะยั่วยุให้มีการชุมนุมเพื่อสร้างเงื่อนไขการรัฐประหารต่อต้านพระถนอมอยู่ แล้วนำศพไปแขวนคอในจังหวัดนครปฐมประหนึ่งว่าจะยั่วยุให้มีการชุมนุมเพื่อสร้างเงื่อนไขการรัฐประหาร

เป็นไปตามคาด การฆาตกรรมดังกล่าวได้นำไปสู่การเรียกร้องให้รัฐบาลเสนีย์ ปราโมชลงมาจัดการปัญหา แต่เมื่อไม่มีความคืบหน้า ทาง ศนท. ซึ่งมีสุธรรม แสงประทุม เป็นเลขาธิการ จึงจัดให้มีการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2519 ที่ท้องสนามหลวง ขณะที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีการ “งดสอบ” นำโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนัดไปชุมนุมกันที่ลานโพธิ์ ในระหว่างนั้นก็มีการแสดงละครกรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้า นครปฐมโดยสมาชิกชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร ตกค่ำ ศนท.ได้มีมติให้ชุมนุมยืดเยื้อ และย้ายที่ชุมนุมเข้ามาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุการณ์วันที่ 4 ตุลาคมผ่านไปด้วยดี แต่วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ดาวสยามกรอบบ่ายได้ลงข่าวการชุมนุมและการแสดงละครของนักศึกษาพร้อมพาดหัวว่า “แขวนคอหุ่นเหมือนเจ้าฟ้าชาย/แผ่นดินเดือด! / ศูนย์ฯ เหยียบยํ่าหัวใจคนไทยทั้งชาติ” พร้อมกันนั้นได้เรียกร้องให้ไปจัดการกับนักศึกษาที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนสถานีวิทยุยานเกราะก็เริ่มโจมตีว่านักศึกษามีเจตนาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและตั้งใจจะล้มล้างสถาบันกษัตริย์โดยเล่นละครล้อเลียน[7]

กว่าที่นักศึกษาจะตอบโต้ก็ตกค่ำ เมื่อเวลา 21.30 น. ประยูร อัครบวร รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองของ ศนท. ได้แถลงที่องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) พร้อมกับนำผู้แสดงละคร 2 คนคือ อภินันท์  บัวหภักดี และวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ มาแสดงความบริสุทธิ์ใจ ประยูรกล่าวตอนหนึ่งว่า “ทางนักศึกษาไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมสถานีวิทยุยานเกราะและหนังสือพิมพ์ดาวสยามจึงให้ร้ายป้ายสีบิดเบือนให้เป็นอย่าง อื่นโดยดึงเอาสถาบันที่เคารพมาเกี่ยวข้อง”  ในช่วงเวลาเดียวกัน เวลา 21.40 น. รัฐบาลเสนีย์ออกแถลงการณ์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 แจ้งว่า “ตามที่ได้มีการแสดงละครที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ศกนี้ มีลักษณะเป็นการหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์  รัชทายาท รัฐบาลได้สั่งให้กรมตำรวจดำเนินการสอบสวนกรณีนี้โดยด่วนแล้ว”

มีการปลุกระดมโจมดีนักศึกษาตลอดคืนวันที่ 5 ต่อวันที่ 6 ตุลาคม กระทั่งก่อนฟ้าสางได้มีระเบิดลงที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์พร้อมๆกับการระดมยิงเข้ามาในที่ชุมนุม ทางต้าน ศนท. ได้ส่งตัวแทนฝ่ากระสุนออกไปพบกับเสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีที่บ้านพัก ประกอบด้วยสุธรรม แสงประทุม, อนุพงศ์ พงศ์สุวรรณ, สุรชาติ บำรุงสุข, อภินันท์ บัวหภักดี, วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์, และประพนธ์ วังศิริพิทักษ์ แต่เช้าวันนั้นทั้งหมดกลับถูกจับกุมทันทีเมื่อไปถึงบ้านพักของเสนีย์ ด้วยข้อหา “กระทำการดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์รัชทายาท”[8]

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากตำรวจบุกยึดมหาวิทยาลัยได้แล้ว นักศึกษาประชาชนจำนวนมากถูกควบคุมตัวและถูกทยอยลำเลียงส่งไปขังตามสถานีตำรวจต่าง ๆ ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่นั้น พวกเขาทั้งชายและหญิงถูบังคับให้ถอดเสื้อ เอามือกุมหัว และให้นอนคว่ำคลานไปตามพื้น ระหว่างที่คลานไปตามพื้นก็ถูกตำรวจเตะถีบ ระหว่างขึ้นรถก็ถูกตำรวจรวมทั้งกลุ่มกระทิงแดงและถูกเสือชาวบ้าน ด่าทออย่างหยาบคายขว้างปาสิ่งของใส่และเตะถีบ

ต่อมาเวลา 12.00 น. รัฐบาลเสนีย์ออกแถลงการณ์สรุปได้ว่า (1) ตำรวจจับกุม ผู้ที่ดูหมิ่นองค์รัชทายาทได้แล้ว 6 คน จะดำเนินการส่งฟ้องศาลโดยเร็ว (2) ตำรวจได้เข้าควบคุมสถานการณ์การปะทะกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว และ (3) รัฐบาลได้สั่งให้ตำรวจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายโดยเด็ดขาด

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงรัฐบาลเสนีย์ขณะนั้นหมดอำนาจลงแล้วโดยพฤตินัย รอแต่การรัฐประหารอย่างเป็นทางการจากทหารกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง

ในที่สุด เวลา 18.00 น. พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ในนามหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ก็ลงมือก่อการ โดยได้แถลงถึงเหตุที่ต้องทำการรัฐประหารว่า

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ประจักษ์ถึงภัยพิบัติที่ได้เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป กล่าวคือได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่ม ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นการเหยียบย่ำจิตใจของคนไทยทั้งชาติ โดยเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของคอมมิวนิสต์ ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมก็ได้ต่อสู้ด้วยอาวุธร้ายแรง ที่ใช้ในราชการสงคราม โดยร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชาวเวียตนามต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก… หากปล่อยไว้เช่นนี้ก็นับวันที่ประเทศชาติและประชาชนจะต้องประสบกับความวิบัติยิ่งขึ้นเป็นลำดับ จนยากที่จะแก้![9]

ทั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินระบุด้วยว่า พวกเขาเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุด ผู้ใดจะละเมิดมิได้ “การยึดอำนาจครั้งนี้ก็เพื่อรักษาสถาบันที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐให้ดำรงอยู่ตลอดไป องค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้รับการอารักขาจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่าง ปลอดภัยแล้วทุกประการ”[10]

เหตุการณ์ในวันนั้น มีนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 40 ราย เป็นหญิง 4 ราย ชาย 32 ราย (ยังไม่ทราบชื่อจนทุกวันนี้จำนวน 6 ราย) และอีก 4 รายสภาพศพ ถูกเผาจนไม่สามารถระบุเพศได้[11] นอกจากนี้ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่า มีนักศึกษา ประชาชนถูกจับกุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เฉพาะในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งสิ้น 3,094 คน เป็นชาย 2,432 คน และหญิง 662 คน[12] พวกเขาเหล่านี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการ (อ)ยุติธรรมภายใต้คำสั่งของคณะรัฐประหารที่เรียกกันต่อมาว่า “กฎ 6 ต.ค. 2519”

กฎ 6 ต.ค. 2519: เมื่อเสียงปืนดังขึ้น กฎหมายก็เงียบลง

ทันทีที่ยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารซึ่งถือตนเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ได้ออก “คำสั่ง ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ความว่า

เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปราศจากภัยของประชาชนทั่วประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เวลา 19.10 นาฬิกา เป็นต้นไป และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

ข้อ 1 บรรดาคดีที่มีข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เวลา 19.10 นาฬิกา ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีที่ต้องดำเนินในศาล คดีเด็กและเยาวชน

ข้อ 2 ให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดทุกศาลในเขตมณฑลทหารบกที่ 1 และศาลจังหวัดทุกศาลในเขตจังหวัดทหารบกลพบุรี เป็นศาลทหารกรุงเทพ ส่วนศาลจังหวัดนอกจากที่กล่าวนี้ ซึ่งอยู่ในเขตมณฑลทหารบกใด ให้เป็นศาลมณฑลทหารบกนั้นๆด้วย ศาลทหารดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วยตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณา พิพากษาคดีและบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้

ข้อ 3 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ผู้พิพากษาศาลอาญา และผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาล เป็นตุลาการศาลทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารแห่งศาลนั้นๆซึ่งเป็นศาลทหารตามความในข้อ 2 ด้วย

ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค เป็นตุลาการศาลทหาร เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่กล่าวแล้ว และให้มีอำนาจนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลภายในเขตของตน ซึ่งเป็นศาลทหารตามประกาศนี้ หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว ก็ให้มีอำนาจลงนามในคำพิพากษาได้ด้วย ให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดทุกศาล เป็นจ่าศาลทหารแห่งศาลทหารนั้นๆด้วย

ข้อ 4 ให้พนักงานอัยการ เป็นอัยการทหารด้วย

ข้อ 5 ให้ใช้สถานที่ทำการศาลอาญา และสถานที่ทำการศาลจังหวัดทุกศาล เป็นที่ทำการศาลทหารตามประกาศนี้ด้วย

ข้อ 6 บรรดาคดีที่เกิดขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และประกาศกฎอัยการศึกที่ใช้อยู่ในขณะนั้น

ข้อ 7 เมื่อได้มีประกาศให้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารตามประกาศนี้ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในข้อ 1 บรรดาที่ค้างอยู่ในศาลและบรรดาที่การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนวันเวลาเลิกใช้กฎอัยการศึก[13]

สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่ต้องขึ้นศาลทหารตามบัญชีท้ายคำสั่ง ฉบับที่ 1 นี้มี 9 ประการ ประกอบด้วย (1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107-112 (2) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113-129 (3) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา 130-135 (4) ความผิดเกี่ยวกับ ความสงบสุขของประชาชน ฐานเป็นตั้งยี่ ฐานเป็นซ่องโจร และการมั่วสุมประชุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย หรือกระทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตั้งแต่มาตรา 209-216 (5) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตั้งแต่มาตรา 217-239 (6) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ฐานจัดหรือล่อลวงหญิงหรือเด็กหญิงไปเพื่อการอนาจารหรือสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ตั้งแต่มาตรา 282, 284 และมาตรา 285 เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 282 และ 283 (7) ความผิดต่อชีวิต ตั้งแต่มาตรา 288-294(8) ความผิดต่อร่างกาย ตั้งแต่มาตรา 295-300 และ (9) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตั้งแต่มาตรา 334 ถึงมาตรา 340 ทวิ มาตรา 357 และมาตรา 360 ทวิ

คำสั่งฉบับแรกของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนี้ ซึ่งมีผลให้นักศึกษาประชาชนจำนวนหนึ่งต้องถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐาน ถูกนำตัวขึ้นสู่ศาลทหารแทนที่จะเป็นศาลอาญาปกติ จะกลายเป็นฐานอ้างอิงในการพิจารณาคดี 6 ตุลา โดยระบุถึงในชั้นศาล ว่าเป็น “กฎ 6 ต.ค. 2519”

ทั้งนี้ ตามธรรมนูญศาลทหารที่บังคับใช้อยู่ ณ ขณะนั้น ในศาลทหาร “ในเวลาไม่ปกติ” จำเลยในคติที่มีข้อหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 107-129 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่มีข้อหาว่ากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าจะมีข้อหาว่าได้กระทำความผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่นั้น ไม่มีสิทธิที่จะแต่งทนายได้ รวมทั้งห้ามอุทธรณ์ หรือฎีกาด้วย[14]โดย “ในเวลาไม่ปกติ” นั้นหมายถึง ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงครามหรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก[15]

หลังจากออก “กฎ 6 ต.ค. 2519” แล้ว ในวันเดียวกันนี้เอง คณะรัฐประหาร ยังได้มีคำสั่งฉบับที่ 8 เพิ่มเติมให้คดีที่มีข้อหาว่าการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ป้องกัน การกระทำอ้นเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 ไม่ว่าจะมีข้อหาว่ากระทำความผิดอย่างอื่น ด้วยหรือไม่ อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วย ไม่ว่าการกระทำความผิด จะได้กระทำขึ้นก่อนหรือหลังวันประกาศใช้กฎอัยการศึก 6 ต.ค. 2519 เนื่องจากในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ “ควรดำเนินการด้วยความเด็ดขาดให้ได้ผล เพื่อความมั่นคงของประเทศ และความสงบสุขของประชาชน”[16] และภายหลังคณะรัฐประหารได้ออกคำสั่ง ฉบับที่ 14 ระบุว่า “ศาลทหาร” ตามคำสั่งที่ 8 ให้หมายถึง “ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ”[17] นอกจากนั้นใน’วันที่ 13 ตุลาคม 2519 ได้มิคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินฉบับที่ 22 กำหนดข้อหา “ภัยต่อสังคม” ขึ้นมา ซึ่งบุคคลที่เป็นภัยต่อลังคมในสายตาของคณะรัฐประหารนั้น หมายรวมถึงบุคคลที่มีพฤติการณ์ “ยุยง ปลุกปั่น ใช้ หรือสนับสนุนให้ประชาชนก่อความวุ่นวายหรือก่อความไม่สงบขึ้นในเมือง”, “กระทำด้วยประการ ใด ๆ ให้ประชาชนเลื่อมใสหรือเห็นคล้อยตามในระบอบการปกครองอื่นอันมิใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” และ “ร่วมกันหยุดงาน หรือปิดงานงดจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ด้วย[18]

คำสั่งฉบับนี้ให้อำนาจตำรวจควบคุมตัวบุคคลที่เห็นว่าเป็นภัยต่อสังคมเพื่อ “ทำการอบรม” ได้นานถึง 30 วัน และถ้ายังมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคมอยู่ ก็ให้ส่งตัวไปยัง “สถานอบรมและฝึกอาชีพ” ต่อไป โดยการดำเนินการควบคุมตัวให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะ ซึ่งทุก 2 เดือนคณะกรรมการจะพิจารณาว่าจะควบคุมตัวต่อหรือปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไขหรือไม่อย่างไร

“ภัยต่อสังคม” กลายเป็นข้อหาเหวี่ยงแหที่สร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนทั่วไปที่ไม่เห็นด้วยกับคณะรัฐประหาร มหินทร์ ตันบุญเพิ่ม นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับอารมณ์ พงศ์พงัน จากสหภาพแรงงานการประปานครหลวง และเป็นรองประธานกลุ่มสหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย ตั้งคู่ถูกจับกุมในข้อหาภัยต่อสังคมเมื่อวันที่ 14 และ 15 ตุลาคม 2519 ตามลำตับ และถูกขังอยู่ 5 เดือน แม้พวกเขาจะถูกปล่อยตัวจากข้อหาภัยต่อสังคมในเดือนมีนาคม 2520 แต่ก็ถูกนำตัวไปขังต่อ ด้วยข้อหาเหมือนผู้ที่ถูกจับในธรรมศาสตร์วันที่ 6 ตุลา ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ จากนั้นก็ถูกตั้งข้อหาคอมมิวนิสต์เพิ่ม กระทั่งกลายเป็นหนึ่งในจำเลยคดี 6 ตุลา ในท้ายที่สุด[19] มีการประมาณการว่าหลัง 6 ตุลา มีผู้ถูกจับกุมด้วยข้อหาภัยต่อสังคมมากถึง 8,000 คน ในจำนวนนั้นมีทั้งแพทย์ ครู นักศึกษา พระภิกษุ ชาวนาชาวไร่ และนักสหภาพแรงงาน รวมอยู่ด้วย[20] นอกจากผลพวงของเหตุการณ์  6 ตุลา และการใช้อำนาจเผด็จการอื่นๆ แล้ว หลายคนจึงตัดสินใจเข้าป่าจับอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หลัง 6 ตุลา ก็ด้วยคำสั่งฉบับนั้น

แม้จะได้ออก “กฎ 6 ต.ค. 2519” มาบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่เพื่อให้แน่ใจว่าคณะรัฐประหารจะสามารถกำราบปราบปรามผู้ที่เป็นภัยต่อลังคมในสายตาของตนได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด วันที่ 19 ตุลาคม 2519 จึงมีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 29 ให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามคำสั่งฉบับที่ 1 และฉบับอื่น ซึ่งความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างใช้กฎอัยการศึกตามคำสั่งฉบับที่ 1 “เป็นคดีที่ห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าว และของศาลทหารในเวลาไม่ปกติตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร” โดยให้จำเลยแต่งทนายได้ “เว้นแต่คดีที่ห้ามแต่งทนายตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร”[21] กอปรกับคำสั่งฉบับที่ 30 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ในบรรดาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามคำสั่ง ฉบับที่ 1 และฉบับอื่น “ถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง แม้แต่’ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเอง และไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะ พิจารณาพิพากษา และตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 29” ด้วย[22]

เหล่านี้คือปฐมบทของกระบวนการ (อ) ยุติธรรมในคดี 6 ตุลา ซึ่งขัดต่อสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างโจ่งแจ้ง เผด็จการทหารและ รัฐบาลขวาจัดใช้อำนาจจับกุมคุมขังนักศึกษาประชาชนจำนวนมากตามอำเภอใจ ยัดเยียด ข้อหาร้ายแรง ขั้นตอนและสิทธิตามปกติในกระบวนการยุติธรรมถูกยกเลิก พลเรือนถูก บังคับให้ขึ้นศาลทหาร ทั้งยังบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง ขณะที่เสรีภาพสื่อมวลชนและสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกในการแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไปถูกปิดกั้น

เพิ่มเวลาควบคุมตัว เพิ่มบทลงโทษ เพิ่มข้อหา

ในบรรดาผู้ที่ถูกจับกุมในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จำนวนกว่า 3,000 คน และผู้ที่ถูกจับกุมหลังจากนั้นอีกจำนวนหนึ่ง ท้ายที่สุด จำนวนหนึ่งที่ทางการเห็นว่าเป็นบุคคลขั้นหัวหน้าและตัวการสำคัญจะถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีและส่งฟ้องต่อศาลทหารเป็นจำเลยใน “คดี6 ตุลา” ซึ่งในทุกกระบวนการล้วนต้องเผชิญกับการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม โดย เฉพาะภายใต้การปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและรัฐบาลขวาจัดของ ธานินทร์ กรัยวิเชียร

สำหรับผู้ถูกจับกุมในวันที่ 6 ตุลาคม เมื่อตำรวจควบคุมตัวไว้ครบ 7 วันตามอำนาจที่เจ้าหน้าที่มีตามกฎหมาย ในวันที่ 12 ตุลาคม 2519 พนักงานสอบสวนจึงได้นำตัวผู้ต้องหา 6 ตุลา มาขออำนาจศาลอาญาฝากขังครั้งที่ 1 อีก 12 วันโดยอ้างว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น และในกรณีของสุธรรม แสงประทุม และคณะ รวม 6 คน ซึ่งถูกจับกุมชุดแรกด้วยข้อหากระทำการดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์รัชทายาทนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้คัดค้านการยื่นคำร้องขอประกันตัวของผู้ต้องหาด้วยเหตุผลว่า

คดีนี้ ผู้ต้องหากับพวกได้ร่วมกันกระทำความผิดโดยมีแผนการ และเป็นมูลเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง และเป็นคดีที่ประชาชนสนใจเป็นพิเศษ…[ผู้ต้องหา] เป็นผู้มีสมัครพรรคพวกมาก หากให้ประกันตัวไปแล้วอาจจะไปยุ่งเหยิงกับพยานบุคคลซึ่งอาจทำให้เสียรูปคดีได้[23]

แน่นอนว่า ศาลได้ยกคำร้องขอประกันตัวและอนุญาตให้ฝากขังต่อ

ระหว่างฝากขังผลัดแรกนั่นเอง วันที่ 19 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินได้ออกคำสั่งฉบับที่ 28 เพื่อขยายอำนาจในการควบคุมตัวผู้ต้องหา 6 ตุลา เป็นการเฉพาะ ความว่า

บรรดาผู้ต้องหาซึ่งถูกจับกุมอันเนื่องมาแต่การจลาจลวุ่นวายที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะถูกจับกุมในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือหลังจากนั้น แต่ก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ… ให้ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้งติดต่อกัน แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน และรวมทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน[24]

ครั้งนี้คณะรัฐประหารอ้างว่า เนื่องจากผู้ที่ถูกจับกุมมีจำนวนมาก ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหลายกระทงและลักษณะความผิดสลับซับซ้อน จึงต้องทำการสอบสวนโดยละเอียดถี่ถ้วน “เพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่ผู้ต้องหา”[25]

ควรบันทึกไว้ด้วยว่า เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จากภัยคอมมิวนิสต์ คณะปฏิรูปการปกครองจึงใช้อำนาจจากปากกระบอกปีน ออกคำสั่งฉบับที่ 25 ในวันที่ 17 ตุลาคม 2519 แก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 หลายประการ อาทิ ขยายนิยามของคำว่า “องค์การอันเป็นคอมมิวนิสต์” และ “การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” รวมทั้งขยาย ลักษณะความผิดให้กว้างขวางขึ้นพร้อมกับเพิ่มโทษของผู้ที่กระทำผิดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายนี้และมีอำนาจในการประกาศให้เขตท้องที่ใดเป็นเขตแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ เป็นต้น[26]

ถัดมาในวันที่ 21 ตุลาคม 2519 คณะรัฐประหารยังได้เพิ่มอัตราโทษสำหรับความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รวมทั้งศาลหรือผู้พิพากษา ตลอดจนการกระทำอันเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติและศาสนา โดยออกคำสั่งฉบับที่ 41 ให้แก้ไขความในประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้นว่า มาตรา 112 แก้ไขเป็น “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” จากเติมที่กำหนดโทษไว้เพียงจำคุกไม่เกิน 7 ปี, มาตรา 118 แก้ไขเป็น “ผู้ใดกระทำการใดๆต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใดอันมีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่ เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”, มาตรา 198 แก้ไขเป็น “ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมิ่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”, มาตรา 206 แก้ไขเป็น “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”[27]

การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ย่อมสอดคล้องกับเหตุผลในการรัฐประหารตามที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเคยแถลงไว้ว่า “ได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่ม ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นการเหยียบย่ำจิตใจของคนไทยทั้งชาติ โดยมีเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของ คอมมิวนิสต์ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย”[28]

คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 28 ส่งผลให้ผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ต้องถูกคุมขังเป็นเวลายาวนาน (สำหรับคดีของสุธรรม แสงประทุม กับพวก ซึ่งมีรายชื่อของผู้ต้องหาเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับนั้น วันที่ 21 ตุลาคม 2519 ศาลอาญาอนุญาตฝากขังครั้งที่ 2 เป็นเวลา 30 วัน, วันที่ 22 พฤศจิกายน 2519 ศาลอาญาอนุญาตฝาก ขังครั้งที่ 3 เป็นเวลา 30 วัน, วันที่ 22 ธันวาคม 2519 ศาลอาญาอนุญาตฝากขังครั้ง ที่ 4 เป็นเวลา 30 วัน, วันที่ 21 มกราคม 2520 ศาลอาญาอนุญาตฝากขังครั้งที่ 5 เป็น เวลา 30 วัน, วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2520 ศาลอาญาอนุญาตฝากขังครั้งที่ 6 เป็นเวลา 30 วัน)[29] ระหว่างนั้นเองได้เกิดเหตุน่าสลดใจขึ้น เมื่อนายวันชาติ ศรีจันทร์สุข หนึ่งในผู้ต้องหา 6 ตุลา ซึ่งถูกควบคุมตัวมายาวนานเกินกว่ากระบวนการยุติธรรมตามปกติ ได้ ตัดสินใจผูกคอตาย ณ สถานีตำรวจนครบาลบางเขน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2520[30] อย่างไรก็ดี ก่อนจะครบกำหนดฝากขังตามอำนาจที่ศาลได้รับจากคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 28 ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520 เจ้าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ต่อจำเลยคดี 6 ตุลา เพิ่มอีก[31] ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดที่คณะปฏิรูปการปกครองเคยมีคำสั่งให้เป็นหนึ่งในความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ โดยจำเลยไม่มีสิทธิที่จะแต่งทนายความแก้ต่างได้ รวมทั้งไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกา ผลกระทบเฉพาะหน้าต่อบรรดาผู้ต้องหาคดี6 ตุลาก็คือ ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำคันเป็นคอมมิวนิสต์ พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 30 วัน และสามารถขออนุมัติจากอธิบดีกรมตำรวจควบคุมตัวต่อได้อีกไม่เกิน 60 วัน จากนั้นหากการสอบสวนยัง1ไม่เสร็จสิ้น ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นอำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหาได้ โดยศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 3 ครั้ง[32]

ระหว่างฝากขังผลัดที่ 6 พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีที่มีสุธรรม แสงประทุม กับพวกรวม 106 คนเป็นผู้ต้องหาไปยังอัยการศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 8 มีนาคม 2520[33] ครั้นเมื่อครบกำหนดฝากขังในวันที่ 22 มีนาคม 2520 อัยการศาลทหารกรุงเทพจึงยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพ เพื่อขอฝากขังผู้ต้องหาคดีนี้ต่อไปอีก 90 วัน โดยอ้างว่าอัยการยังตรวจพิจารณาสำนวนอยู่และจำเป็นต้องให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม ทั้งนี้” อัยการศาลทหารกรุงเทพเห็นว่า

เนื่องจากผู้ต้องหาตามบัญชีท้ายคำร้องนี้เป็นบุคคลชั้นหัวหน้าและเป็นตัวการสำคัญในการกระทำผิด  และพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกัน เนื่องจากหากให้ประกันตัวไปอาจเสียหายแก่รูปคดีได้ หากผู้ต้องหายื่นขอประกันตัวผู้ร้องจึงขอคัดค้านการขอประกันด้วย[34]

ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2520 อัยการศาลทหารกรุงเทพก็ยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพขอฝากขังอีกครั้งด้วยเหตุผลเติมซ้ำซาก[35] นับเป็นกระบวนการ “ขังฟรี” อันเนิ่นนาน และอยุติธรรมต่อผู้ต้องหาทุกๆ คนที่ต้องการต่อสู้คติเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน ดังความในใจจากเรือนจำกลางบางขวางที่ว่า

วันนี้เขานำฉันและเพื่อน ๆ ออกจากเรือนจำไปศาลทหารในกระทรวงกลาโหม เพื่อขออำนาจศาลฝากขังต่ออีก 90 วัน (พวกเราที่นี่เรียกว่าออกไปต่อดอกเบี้ย) ฉันออกจะเบื่อเอามากๆกับการฝากขังฟรีๆอย่างนี้ เพราะเวลาก็เนิ่นนานมา 8 เดือนแล้ว ยังไม่มีวี่แววว่าเขาจะจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดกับพวกเราให้รู้เรื่องลงไปเสียที ฟ้องก็ยังไม่เห็น ฟ้องอัยการเขาก็อ้างว่าตรวจสำนวนยังไม่เรียบร้อย… ถ้าเขาจะฟ้องเสียทีก็จะดี ฉันจะได้มีโอกาสพูดบ้าง มีโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของพวกเรา[36]

18+1 จำเลยคดี 6 ตุลา

หลังจากควบคุมตัวผู้ต้องหามานานกว่า 10 เดือน รอจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2520 เจ้ากรมพระธรรมนูญจึงได้ออกมาเผยเกี่ยวกับคดี 6 ตุลาว่า อัยการศาลทหารกรุงเทพพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้ว สรุปว่าในจำนวนผู้ต้องหาทั้งสิ้น 106 คน เจ้าหน้าที่ได้ตัวมาสอบสวนเพียง 74 คน อัยการมีความเห็นไม่สั่งฟ้อง 56 คน สั่งฟ้อง 18 คน ที่เหลืออีก 32 คนนั้น เป็นผู้ต้องหาที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาฟ้อง[37]

จำเลยคดี 6 ตุลา จำนวน 18 รายที่ว่า ประกอบด้วย

  • จำเลยที่ 1 สุธรรม แสงประทุม (23 ปี[38]) นิสิตปี 4 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เลขาธิการ ศนท. ปี 2519
  • จำเลยที่ 2 อนุพงศ์ พงศ์สุวรรณ (20 ปี) นักศึกษาปี 3 คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ประธานชุมนุมนาฏศิลป์และการละครของ อมธ. ปี 2519
  • จำเลยที่ 3 อภินันท์ บัวหภักดี (19 ปี) นักศึกษาปี 2 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สมาชิกชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร อมธ.
  • จำเลยที่ 4 สุรชาติ บำรุงสุข (21 ปี) นิสิตปี 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อุปนายก ฝ่ายกิจการภายนอก สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สจม.) ปี 2519
  • จำเลยที่ 5 ประพนธ์ วังศิริพิทักษ (24 ปี) นักศึกษาปี 5 สาขาอีเลคโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี นายกสโมสรนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าฯ ปี 2519
  • จำเลยที่ 6 วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ (25 ปี) นักศึกษาปี 4 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สมาชิกชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร อมธ.
  • จำเลยที่ 7 มหินทร์ ตันบุญเพิ่ม (22 ปี) นักศึกษาปี 4 คณะนิติศาสตร์ รามคำแหง นายกองการนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงปี 2519
  • จำเลยที่ 8 อารมณ์ พงศ์พงัน (30 ปี) ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหภาพแรงงานการประปานครหลวง รองประธานกลุ่มสหภาพแรงงานแห่งประเทศไทย
  • จำเลยที่ 9 ประยูร อัครบวร (22 ปี) นักศึกษาปี 4 คณะนิติศาสตร์ รามคำแหง รองเลขาธิการ ศนท. ฝ่ายการเมือง ปี 2519
  • จำเลยที่ 10 สุชีลา ตันชัยนันท์ (22 ปี) นักศึกษาปี 4 คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รองเลขาธิการ ศนท. ฝ่ายสังคมและการศึกษา ปี 2519
  • จำเลยที่ 11 อรรถการ อุปอัมภากุล (21 ปี) นักศึกษาปี 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กรรมการ อมธ. ปี 2519
  • จำเลยที่ 12 สุชาติ พัชรสรวุฒิ (21 ปี) นักศึกษาปี 3 คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กรรมการ อมธ. ปี 2519
  • จำเลยที่ 13 ธงชัย วินิจจะกูล (19 ปี) นักศึกษาปี 2 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รองนายก อมธ. ปี 2519
  • จำเลยที่ 14 คงศักดิ์ อาษาภักดิ์ (26 ปี) ลูกจ้างร้านขายยาศรีไทยฟาร์มาซี
  • จำเลยที่ 15 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (18 ปี) นักศึกษาปี 1 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กรรมาธิการสภานักศึกษา ฝ่ายกิจการภายนอก
  • จำเลยที่ 16 โอริสสา ไอราวัณวัฒน์ (24 ปี) นักศึกษาปี 6 แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ เลขาธิการแนว ร่วมอาชีวะเพื่อประชาชนแห่งประเทศไทยปี 2519[39]
  • จำเลยที่ 17 เสงี่ยม แจ่มดวง (24 ปี) พยาบาลโรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ อดีตนายกสโมสรนักศึกษาพยาบาล รามาธิบดีปี 2518
  • จำเลยที่ 18 เสรี ศิรินุพงศ์ (36 ปี) ข้าราชการกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม

อันที่จริงในคดีที่เรียกอันว่า “คดี 6 ตุลา” นี้ ไม่ได้มีเพียงคดีเดียว แต่อย่างน้อย ควรรวมคดีที่มักถูกลืม ซึ่งมีบุญชาติ เสถียรธรรมณี เป็นจำเลยเข้าไปด้วย บุญชาติเป็น นักศึกษาธรรมศาสตร์และศูนย์ฝึกการบินพลเรือน เขาถูกจับเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2519 โดยอาจารย์ที่ศูนย์ฝึกการบินเป็นผู้โทรศัพท์ ไปแจ้งตำรวจให้มาจับกุมเนื่องจากมีรูปปรากฏในหนังสือพิมพ์ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมแสดงละคร “แขวนคอ” ที่ลานโพธิ์ธรรมศาสตร์ด้วย เจ้าพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาบุญชาติเพียงข้อหาเดียวคือ ข้อหาดูหมิ่นองค์รัชทายาท และถูกแยกฟ้องต่อศาลอาญาคนเดียว เนื่องจากเจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่มีข้อหาคอมมิวนิสต์ด้วย จึงไม่ฟ้องต่อศาลทหารตาม “กฎ 6 ต.ค. 19” เหมือนจำเลยอีก 18 คน ทนายความของบุญชาติมี 3 คน ได้แก่ วสันต์ พาณิช, สุริยัน วรศิริ, และทองใบ ทองเปาด์[40] อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะคดี 6 ตุลาของจำเลย 18 รายที่ขึ้นสู่ศาลทหาร เท่านั้น

รุ่งขึ้นหลังจากเจ้ากรมพระธรรมนูญออกมาเผยความคืบหน้าของคดี 6 ตุลา วันที่ 25 สิงหาคม 2520 อัยการศาลทหารกรุงเทพได้ยื่นฟ้องสุธรรมและพวกรวม 18 คน ต่อศาลทหารกรุงเทพ[41]ซึ่งองค์คณะตุลาการ 3 คนเป็นนายทหารที่แต่งตั้งมาจาก 3 เหล่าทัพ[42]ในข้อหาฉกรรจ์ 10 ข้อ ได้แก่

  1. ร่วมกันมีการกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
  2. ร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
  3. ร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น
  4. ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อเป็นกบฏ
  5. ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนเป็นหนังสือและวิธีอื่นใดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่ก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
  6. ร่วมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้ายโดยมีอาวุธ และเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่ยอมเลิก
  7. ร่วมมั่วสุมสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเป็นซ่องโจรเพื่อประทุษร้ายต่อชีวิต และร่างกายผู้อื่น
  8. ร่วมกันบุกรุกเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในสำนักงานสถานที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันควร โดยมีอาวุธและร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปในเวลากลางคืน และทำให้เสียทรัพย์
  9. ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย
  10. ร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปีน วัตถุระเบิดชนิดธรรมดาและชนิดที่ใช้แต่เฉพาะในการสงครามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

ทั้งนี้ ในบรรดาข้อกล่าวหาจำเลยทั้ง 18 คน ว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกคำสั่งให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารในเวลาไม่ปกตินั้น การกระทำบางประการเพิ่งจะถูกกำหนดให้เป็นความผิดฐานมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ก็ด้วยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 25 (17 ตุลาคม 2519) และจากข้อหาทั้งหมด จำเลยคดี 6 ตุลา ถือว่ามีความผิดฐานเป็น “กบฏ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ด้วย ซึ่งได้บัญญัติโทษไว้ร้ายแรง ดังนี้

ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ

(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ในคำฟ้องของอัยการศาลทหารกรุงเทพ ได้บรรยายพฤติกรรมของจำเลยไว้อย่าง กว้างขวางนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2516 ไปจนถึงกันที่ 6 ตุลาคม 2519 อาทิ การโฆษณาชวนเชื่อต่อประชาชนว่ารัฐบาลไม่ดี ทำการปกครองแบบกดขี่ขูดรีดประชาชน เป็นพวกนายทุนพวกศักดินาทำให้ชาวนา กรรมกร และคนจนไม่ได้รับความเป็นธรรมและความเสมอภาค ยุยงแนะนำให้ประชาชนผนึกกำลังต่อสู้ ร่วมกันนัดหยุดงาน รวมทั้งการเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศคอมมิวนิสต์ เป็นต้น เหตุที่ต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2516 ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ถึง 3 ปี นั้น ก็เพื่อจะตั้งข้อหาว่า จำเลยกับพวกอีกหลายคนที่หลบหนียังจับตัวไม่ได้ “ได้ร่วมกัน บังอาจจัดตั้งกลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลขึ้น ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อเลิกล้มการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมิ พระมหากษัตริย์เป็นประมุข… และมีความมุ่งหมายที่จะกระทำการอันเป็นกบฏ โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างอำนาจบริหารยึดอำนาจปกครองของรัฐบาล” ด้านหนึ่ง คำ บรรยายฟ้องคติ 6 ตุลานี้ จึงเป็นเสมือน “คำแถลงการณ์” ของชนชั้นนำไทยและฝ่าย อนุรักษนิยมสุดโต่งที่เผยให้เห็นทัศนะต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของกลุ่มนักศึกษา ประชาชนในรอบ 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา

คำบรรยายฟ้องระบุด้วยว่า จำเลยและพวกได้ใช้อาวุธปีนและระเบิดต่อสู้ขัดขวาง เจ้าหน้าที่ตำรวจจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 นาย ได้แก่ ส.ต.ท.ปียะศักดิ์ เพลินหัด กับ พลตำรวจสมพงษ์ จันทน์เทศ และมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 15 นาย พร้อมกันนั้น อัยการ ก็ได้ยื่นบัญชีอาวุธที่อ้างว่าเป็นของจำเลยและพวกต่อศาลทหารด้วย ประกอบด้วยอาวุธ ปีน เครื่องกระสุนปีน และวัตถุระเบิด 26 รายการ อาวุธสำหรับใช้เฉพาะในการสงคราม 9 รายการ และเครื่องกระสุนปีนสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามอีก 10 รายการ

การตั้งข้อหาร้ายแรงแก่ผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา สร้างกระแสความสนใจไปทั่วโลก ด้งนั้น เมื่อศาลทหารกรุงเทพเบิกตัวจำเลยทั่ง 18 คนมาศาลทหาร กระทรวงกลาโหม เป็นบัดแรกในวันที่ 5 กันยายน 2520 จึงมีผู้สื่อข่าวทั่งไทยและต่างประเทศ ประชาชน ทั่วไป รวมทั่งเจ้าหน้าที่จากสถานทูตและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ มาร่วมสังเกตการณ์ อย่างคับคั่ง นั่นนับว่าเป็นการพิจารณาคดี 6 ตุลาที่เปิดเผยต่อสาธารณะชนมากที่สุด เพราะหลังจากนั้นผู้สื่อข่าวก็ไม่มีโอกาสได้สัมภาษณ์จำเลยที่ศาลอีกเลย เช่นเดียวลับช่างภาพ หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ที่ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เช้าไปในบริเวณศาลทหารอีก วันนั้น หลังจากตุลาการพระธรรมนูญทหารอ่านคำฟ้องให้จำเลยฟ้งเสร็จแล้ว จำเลยทั้งหมดได้ แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์ รวมทั้งค้านว่าศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้[43]

ในนัดครั้งนั้น อัยการศาลทหารกรุงเทพได้ยื่นบัญชีพยานต่อศาลมากถึง 83 รายชื่อ[44]  ซึ่งก็หมายความว่า การดำเนินการพิจารณาคดี 6 ตุลา จะต้องกินเวลายาวนาน และล้า จำเลยไม’ได้รับการประกันตัว พวกเขาต้องถูกจำคุกฟ้ริขณะยังไม’มีคำพิพากษาต่อไปอีก

ภาพของสุธรรม แสงประทูม และเพื่อนจำเลย ที่ต้องใส่ตรวนมายังศาล และกระแส ข่าวต่างๆเกี่ยวกับการพิจารณาคดี 6 ตุลานั้น ได้สร้างผลสะเทือนต่อสาธารณะเป็นอย่าง มาก จนทำให้รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ต้องออกแถลงการณ์ชี้”แจงว่า มีผู้ถูกจับกุมใน เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 และต่อเนื่อง ทั้งสิ้น 3,154 คน รัฐบาลได้เร่งดำเนินการ สอบสวนและปล่อยตัวไปแล้ว 3,136 คน โดยผู้ต้องหา 5 รายสุดท้ายที่ได้รับการปล่อย ตัว ได้แก่ ประสีทธิ์ ดีนารักษ, ชวลิต วินิจจะถูล, สนธิ์ ชมดี, วิรัตน้ เตริน, และสมชาย หอมละออ คงเหลือที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยเพียง 18 คน ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าจะดำเนินคดีด้วย ความยุติธรรมและเปิดเผย[45]

คำให้การกบฏพิทักษ์ประชาธิปไตย

การพิจารณาคดีที่ห้องพิจารณาของศาลทหาร ณ กระทรวงกลาโหมนั้นมีขึ้นเพียง ครั้งเดียว เพราะหลังจากนั้นทางราชการจะได้ย้ายที่พิจารณาคดี 6 ตุลาไปยังห้องสโมสร นายทหาร กรมพลาธิการทหารบก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยอ้างว่าสถานที่กว้างขวาง กว่า แม้จะเห็นด้วยว่าควรย้ายห้องพิจารณาจากกระทรวงกลาโหมไปที่อื่นที่กว้างขวางกว่า แต่จำเลยทั้ง 18 คน ได้ทำเรื่องลัดค้านการย้ายไปกรมพลาธิการ เนื่องจากอยู่ห่างไกล ไม่สะดวกสำหรับประชาชนที่จะเดินทางไปเข้าพิงการพิจารณา ซึ่งจำเลยเสนอให้ย้ายไป พิจารณาที่ศาลอาญา กระทรวงยุติธรรมแทน[46] อย่างไรก็ตาม คำร้องของจำเลยตกไป และการย้ายสถานที่พิจารณาคดีดังกล่าวยังส่งผลให้ศาลเลื่อนนัดการพิจารณาคดีครั้งลัดไป เป็นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2520 จากเดิมที่กำหนดไว้เป็นวันที่ 7 ตุลาคม[47]

ทว่าก่อนที่การพิจารณาคดีในวันที่ 17 พฤศจิกายนจะมีขึ้น ได้เกิดความพลิกผัน ทางการเมืองอีกครั้งเมื่อมีการรัฐประหารรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยผู้ก่อการเป็นคณะชุดเดิมที่รัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เพียงแด’ เปลี่ยนชื่อจาก “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” กลายเป็น “คณะปฏิวัติ”[48]48 คราวนั้ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ให้เหตุผลในแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า

[นับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519] ได้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไปว่า ความสามัคคีในหมู่ข้าราชการ ประชาชน มีแต่การแตกแยก ข้าราชการมีความหวั่นไหว ในการปฏิบัติราชการ การเศรษฐกิจและการลงทุนของชาวต่างประเทศลดลงและไม่ แน่นอน หากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ต่อไปจะยากแก่การแก้ไข อนึ่ง คณะทหาร ตำรวจและพลเรือน ได้ตระหนักว่าการที่จะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยแบ่งออกเป็นสาม ขั้นตอนๆละ 4 ปีนั้น เป็นเวลานานเกินความจำเป็น และไม่สอดคล้องกับความต้องการ ของประชาชน คณะทหาร ตำรวจ และพลเรือน เห็นสมควรปรับปรุงระยะเวลาที่จะ พัฒนาระบอบประชาธิปไตยเสียใหม่ โดยกำหนดเป้าหมายให้มีการเสือกตั้งทั่วไปในปี พุทธศักราช 2521 คณะทหาร ตำรวจ และพลเรือน ไม่มั่นใจว่าการจัดให้มีการเสือกตั้ง ทั่วไปตามวิถีทางแห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จะเป็นวิธี ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสถาบันต่าง ๆ ได้มาก ยิ่งขั้น… ในระหว่างเตรียมการจัดให้มีรัฐธรรมนูญและการเสือกตั้งภายหลังการประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนั้น คณะปฏิวัติขอเวลาแล้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขั้น..[49].

แถลงการณ์ดังกล่าวแสดงออกอย่างชัดเจนว่า คณะปฏิวัติยอมรับว่าหากปล่อยให้ รัฐบาลขวาจัดของธานินทรี กรัยวิเชียร บริหารประเทศต่อไป จะยิ่งสร้างความแตกร้าวใน สังคมมากขั้น ซึ่งก็ย่อมส่งผลด้านกลับให้ฝ่ายตรงกันข้ามมีแนวร่วมและความชอบธรรม มากขั้นไปด้วย

สำหรับจำเลยคดี 6 ตุลา ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากทั้งในและต่างประเทศ พวกเขา ได้รับผลในแง่ดีจากความเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อคณะปฏิวัติได้ออกประกาศฉบับที่ 25 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2520 แก้ไข พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหารให้จำเลยในศาลทหารในเวลาไม่ ปกติสามารถตั้งทนายได้ แต่ยังสงวนไม’ให้อุทธรณ์และฎีกาไว้เช่นเติม[50] หลังจากนั้นเมื่อ ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2520 ปรากฏว่าจำเลยคดี 6 ตุลาส่วนใหญ่ยังแต่งทนายไม’ได้ ศาลทหารกรุงเทพจึงสั่งเลื่อนการพิจารณาคติไปเป็นวันที่ 9 มกราคม 2521

เป็นอันว่าตั้งแต่มีการจับกุมนักศึกษาประชาชนและรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 กว่าจะมีการพิจารณาคติ 6 ตุลาได้จริงๆ ก็ต้องรอจนกระทั่งวันที่ 9 มกราคม 2521 โดยที่มีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีจากธานินทั่ กรัยวิเชียร เป็น พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทั่[51]

ระหว่างนั้นในเดือนธันวาคม 2520 สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้จัดการ ประชุมทนายความอาสาสำหรับจำเลยคดี 6 ตุลา และพิจารณาแนวทางในการต่อสู้คดี

ส่วนค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีนั้น ทองใบ ทองเปาดี หัวหน้าคณะทนายอาสา ได้เปิดเผย ว่า คณะทนายได้รับเงินบริจาคจากนักศึกษาประชาชนทั้งในและต่างประเทศจำนวนทั้งสิ้น 137,809 บาท[52]ในที่สุด คดี 6 ตุลา ก็ได้กลายเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ที่สุดเป็น ประวัติการณ์ของทนายความเพื่อช่วยเหลือทางด้านสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนภายใต้ เผด็จการทหาร จำนวนถึง 44 คน ซึ่งจะต้องบันทึกรายชื่อไว้ ด้งนี้

ทองใบ ทองเปาดี, พล.ต.ต.ชนะ สบุทวณิช, มารุต บุนนาค, วิชา หันตามระ, ยงยุทธ บัดีวัฒน้, เกริก ระวังภัย, ปรีชา ธนะศิลป, สมบัติ นิลจินดา, วสันดี พานิช, ประเสริฐ เจนศึริวานิช, สุธี ภูวพันธ์, ชาญชัย สัตยาประเสริฐ, พิทักษ์ ภัทรกานดี, ไพศาล พืชมงคล, บุญไท นามประกาย, วิรัช ชาคริยานุโยค, สุทธิพงษ์ เล้าเจริญ, นิ’วัฒน์ พัดวิจิตร, วิบูลย์ คุณพงษ์ลิขิต, อภิชาต เจริญผล, เชาวลิต เมธยะประภาษ, ชาญ แก้วชูใส, น’รินทร์ ศวันยสุนทร, อนุชิต เจริญผล, ขจรสักด ทองมิตร, สงบ สุริยินทร์, วรเ’ชษฐ์ พูนทึพยานนษ์, ปราโมทย์ วานิชานนษ์, มลรัฐ ผานิชชัย, ดุสิต นาสมใจ, สมพล จิระพัฒน้, อรุณ ถาวรรัตนิ, ฉัตรชัย จันทร์พรายศรี, สุรชัย บุญสม, บันเทิน ขำประสิทธิ์, สุริยัน วรศึริ, สุวัตร อภัยหักด, ประพฤทธิ์ ปราบพาล, มานะ สันติกาล, ปราโมทย์ เธียรฐิติธัช, สุทัศน์ เงินหมื่น, พงษ์ศักดิ์ ปัญยาชีวะ, อนุชาติ วุฒาธีวงษ์ ณ หนองคาย, โกสุมภ์ ตาละโสภณ[53]

ทั้งนี้ ก่อนถึงวันนัดพิจารณาคติ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2520 คณะทนายคติ 6 ตุลาได้ยื่นคำให้การของจำเลยต่อศาลเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งแก้ข้อกล่าวหาโดยละเอียด[54] และที่สำคัญ คำให้การตังกล่าวได้เริ่มด้นต่อสู้จากประเด็นปัญหาเรื่อง “เขตอำนาจศาล” กล่าวคือ

ข้อแรก ศาลทหารกรุงเทพไม่มิอำนาจพิจารณาและพิพากษาคตินี้ เนื่องจากจะนำ คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 8 และ 14 ซึ่งกำหนดให้คติที่มิข้อหาว่าการ กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ป้องหันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสดี พ.ศ. 2495 อยู่ใน อำนาจศาลทหารในเวลาไม่ปกติ มาใช้บังอับแก่กรณีของจำเลยไม’ได้ เพราะเป็น “การ บังหับใช้กฎหมายย้อนหลังเพื่อเป็นโทษแก่บุคคล” ซึ่งชัดต่อหลักกฎหมายทั่วไปและ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมทั้งประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ ประชาธิปไตย จำเลยทั้ง 18 คนเป็นพลเรือน ขณะที่โจทดีอ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เป็นช่วงที่มิการปกครองระบอบประชาธิปไตย มิรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ใช้บังอับอยู่ มีสภาผู้แทนฯ และคณะรัฐมนตรีที่มาจากประชาชน ดังนั้น กรณีของจำเลยต้องได้รับการ พิจารณาในศาลพลเรือน คำสั่งของคณะปฏิรูปฯ ที่ออกมาภายหลังเวลาที่อ้างว่าจำเลย กระทำผิดและให้มีผลย้อนหลังไปจำลัดดัดสิทธิของจำเลยเช่นนั้ “มีผลเสมือนเป็นการ จัดตั้งศาลขึ้นมาใหม่เพื่อพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งหรือความผิดฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะ คือความผิดฐานมีการกระทำอ้นเป็นคอมมิวนิสต์”

ข้อที่สอง การฟ้องจำเลยต่อศาลทหารกรุงเทพลังลัดกระทรวงกลาโหมไม่ชอบด้วย กฎหมายและธรรมนูญศาลทหาร เพราะ “ในเวลาไม่ปกติ” คือในเวลาที่ประกาศใช้กฎ อัยการศึกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 1 กำหนดให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดเป็น ศาลทหาร อันมีผลให้ศาลทหารนี้ (ศาลอาญาหรือศาลจังหวัด) มีฐานะเป็น “ศาลทหาร ในเวลาไม่ปกติ” ไปทันที ดังนั้น โดยคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 8 และ 14 หากคติของ จำเลยจะต้องฟ้องร้องต่อศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ก็ต้องเป็นศาลทหารกรุงเทพ (ศาล อาญา) ซึ่งกลายเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติโดยผลแห่งการประกาศใช้กฎอัยการศึก ดังกล่าว ไม’ใช่ศาลทหารกรุงเทพลังอัดกระทรวงกลาโหม อย่าง1ไรก็ติ จำเลยยังเห็นว่าคดี นี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารใด ๆ เพราะขัดต่อหลักกฎหมาย การพิจารณาคติในศาลทหาร แม้ภายหลังจะมีคำสั่งคณะปฏิวัติยอมให้จำเลยแต่งตั้งทนายได้ ก็ยังมีชอบ เพราะผิดศาล และจำเลยยังถูกดัดสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเลยมีอยู่

นอกจากนั้น ทนายจำเลยยังต่อสู้ในข้อกฎหมายด้วยว่า โจทก์จะนำ พ.ร.บ.ป้องอันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 25 ซึ่งได้กำหนดลักษณะการกระทำและเปลี่ยนแปลงอัตราโทษของ พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ให้เป็นโทษแก่จำเลยยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความ ผิดนั้น มากล่าวอ้างและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็น “การตรากฎหมายย้อนหลัง ให้เป็นโทษต่อบุคคล” มากไปกว่านั้น พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 25 ยังขัดต่อหลักการแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อีกทั้งกำหนดคำจำลัดความคำว่า “คอมมิวนิสต์” และ “การกระทำอันเป็น คอมมิวนิสต์” ไว้กว้างเกินขอบเขต ไม่สอดคล้องต่อหลักวิชา “ทำให้ผู้มีอำนาจใช้ กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือกำจัดผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับตน เป็นกฎหมายที่ตราออกมา เพื่อเป็นเครื่องมือของเผด็จการในการปราบปรามประชาชน เป็นอุปสรรคขัดขวางการ พัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบ่งแยกสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน” คำให้การของจำเลยบรรยายต่อไปว่า นับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 ประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตยได้รวมตัวกันโดยมีเจตจำนงที่จะพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและต่อต้านการฟื้นระบอบเผด็จการขั้น มีได้จะล้มล้างรัฐบาลของประชาชนและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง การต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยนี้ ได้กระทำไปตามความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ คือการชุมนุมโดยสงบ เปิดเผย และปราศจากอาวุธ ทว่าถูกฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยลอบทำร้าย สังหาร ทั้งลับหลังและต่อหน้าเจ้าพนักงานหลายครั้งหลายหน แต่ไม่เคยมีการจับกุมหรือขัดขวาง จำเลยมิได้ทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและสภาผู้แทนฯที่เลือกตั้งโดยประชาชน และการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด “แต่เพราะมีการล้มล้างรัฐธรรมนูญและระบอบ ประชาธิปไตยต่างหากที่ทำให้จำเลยทั้ง 18 คนถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นกบฏคดีนี้”คือกบฏพิทักษ์ประชาธิปไตย ต่อด้านเผด็จการ” ส่วนข้อกล่าวหาเรื่องดูหมิ่นองก์รัชทายาท จำเลยปฏิเสธว่ามิได้กระทำการใดให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ตามที่โจทก์กล่าวฟ้องนั้นเป็นผลจากการแตกแยกทางความคิด ในหมู่ประชาชนและเป็นแผนส่วนหนึ่งของผู้ด้องการฟื้นฟูระบอบเผด็จการ

จำเลยคดี 6 ตุลาย้ำว่า พวกตนมิได้กระทำหรือมีส่วนในการล้อมสังหารหมู่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แต่การนั้นเป็นการกระทำของบุคคลบางกลุ่มที่มีเจตนาร้าย อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยและต้องการฟื้นฟูระบอบเผด็จการขึ้น

การล้อมสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยมก็ได้เกิดขึ้นอย่างสยดสยองที่สุด ความจริง รายละเอียด ภาพยนตร์ และฟิล์มภาพของการสังหารนั้นจำเลยจะนำแสดงต่อศาลในชั้นพิจารณา… นอกจากจำเลยจะมิได้กระทำความผิดตามฟ้องแล้ว จำเลยทุกคนไม่ได้มีส่วนร่วมในการฆ่า การเผาทั้งเป็น การทุบและตอกอกทั้งเป็นการฆ่าและข่มขืน รวมทั้งการสังหารอย่างเลือดเย็นและโดยอาวุธที่ใช้ในราชการสงครามทั้งปวงบรรดาที่ เกิดขึ้นในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นเลย การกระทำทั้งหลายเป็นของฝ่ายปราบปรามทั้งสิ้น

สำหรับข้อกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางการจับกุมโดยใช้อาวุธทำให้เจ้าพนักงานเสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น จำเลยปฏิเสธว่าพวกตนไม่ได้มีอาวุธ และความจริงแล้ว การจับกุมกรณี 6 ตุลา มิใช่เป็นการจับกุมตามครรลองของกฎหมาย หากเป็น “การล้อมสังหารแล้วจับกุมผู้รอดตาย” ต่างหาก อีกทั้งการเสียชีวิตและบาดเจ็บของเจ้าพนักงานก็ มิได้เกิดจากการ กระทำของพวกจำเลย อาวุธของกลางตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นหลักฐานเท็จที่ยัดเยียดให้แก่จำเลย เช่นเดียวกับการสร้างข่าวเท็จเรื่องอุโมงค์ใต้ดินในธรรมศาสตร์ เพื่อโน้มน้าว ประชาชนให้เกิดความเข้าใจผิดโกรธแค้น และสร้างความชอบธรรมในการล้อมสังหารหมู่ผู้บริสุทธิ์

นับแต่นั้น การพิจารณาคดี 6 ตุลาแต่ละครั้ง แทนที่จะเป็นการไต่สวนเพื่อเอาผิดนักศึกษาประชาชน จึงกลับกลายเป็นการเปิดโปงความรุนแรงของฝ่ายที่ต้องการสถาปนาระบอบเผด็จการในเหตุการณ์’ 6 ตุลาแทน รวมทั้งเป็นเงื่อนไขที่เปิดไปสู่การรณรงค์เรียก ร้องความเป็นธรรมให้แก่จำเลยในคดีและนักศึกษาประชาชนที่ถูกล้อมสังหารหมู่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

“โจทก์” กลายเป็น “จำเลย”

ก่อนที่จะมีการพิจารณาคดี 6 ตุลาในวันที่ 9 มกราคม 2521 ทนายของจำเลย ทั้ง 18 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายดังที่จำเลยยกขึ้นมาต่อสู้ในคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเห็นว่า หากศาลจะได้ชี้ขาดในประเด็นเรื่อง “อำนาจศาล” ที่จำเลยโต้แย้งเสียก่อน ก็จะเกิดความเป็นธรรมในเบื้องต้น และหากศาลทหารกรุงเทพ (กระทรวงกลาโหม) ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จะทำให้คดีเสร็จ สิ้นลงโดยไม่ต้องดำเนินการพิจารณาต่อไป[55] ในปัญหาข้อกฎหมายนี้แรกทีเดียวฝ่ายจำเลยหวังว่าศาลจะชี้ขาดในวันนัดพิจารณาคดีที่จะมาถึงเป็นอย่างช้า แต่ปรากฏว่า ผ่านไปหลายเดือนศาลก็ยังไม่วินิจฉัยชี้ขาด ล่วงไปถึงปลายเดือนมิถุนายน 2521 จำเลยจึงได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลติดต่อกันอีก 2 ครั้ง คือในวันที่ 22 และ 29 มิถุนายน ท้ายที่สุด ศาลจึงวินิจฉัยออกมาในวันที่ 7 กรกฎาคม 2521 ว่าศาลได้เคยมีคำสั่งไปแล้วว่ายังไม่สมควรชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวในขณะนั้น การที่จำเลยยังยื่นคำร้องทำนองเดียวกันมาอีกเป็นครั้งที่ 3 นั้นเท่ากับเป็น “การก่อความรำคาญให้แก่ศาล” จึงออกคำสั่งเป็นข้อกำหนดให้จำเลยงดเสนอคำร้องทำนองเดียวกันนี้ต่อศาลอีก[56]

ตลอดเส้นทางการต่อสู้คดี 6 ตุลา ขณะที่จำเลยต้องทนทุกข์ทรมานจากการกักขังอันยาวนานในสภาพที่ไม่รู้ชะตากรรมว่าคดีจะสิ้นสุดลงเมื่อไรอย่างไร[57] คณะทนายความก็ต้องยืนหยัดมั่นคงในความถูกต้องท่ามกลางแรงกดดันและการข่มขู่คุกคามนานัปการนับ ตั้งแต่เริ่มต้นพิจารณาในเดือนมกราคม 2521 อาทิเช่น ได้มีกลุ่มบุคคลเขียนป้ายโจมตี บริเวณตรงทางเข้าศาลเป็นต้นว่า “ทนายทาสไอ้คอมฯ” “18 ผู้ต้องหาเป็นภัยต่อราชลังก์” หรือ “ระวังตัวให้ดีเถิดมึง” รวมทั้งด่าทอคณะทนายต่างๆ นานา มีการส่งดอกไม้ จันทน์ไปที่สำนักงานของทนาย มีบุคคลลึกลับสะกดรอยติดตามทนายหลายคนตลอดเวลา และทนายยังถูกทหารตรวจค้นร่างกายและกระเป๋าเอกสารก่อนเข้าห้องพิจารณา เหตุการณ์ ดังกล่าวทำให้ทนายยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลลับทางราชการแก้ไขปัญหาเรื่องความปลอดภัยของทนาย และขอเลื่อนการพิจารณาวันที่ 16 มกราคม 2521 ออกไปก่อนหนึ่งนัด[58] การยื่นคำร้องครั้งนั้นทำให้การคุกคามที่ศาลโดยเปิดเผยหายไป แต่ต่อมากลางเดือนกุมภาพันธ์ ก็ยังมีคณะบุคคลในนามกลุ่มรักชาติไทยนำพวงหรีดไปวางไว้ที่สมาคม\ทนายความแห่งประเทศไทยอีก ทำให้นายกสมาคมฯ ต้องขอเข้าพบ พล.อ. เกรียงศักดิ์ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รับรองความปลอดภัยของทนายความ[59]

ระหว่างวันที่ 9 มกราคม ถึง 14 กันยายน 2521 มีพยานโจทก์มาเบิกความต่อ ศาลทั้งหมด 11 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.สกล สุวรรณา รองผู้กำกับการ 2 กองตำรวจสันติบาล, ทนง เหล่าวานิช ประธานสหภาพแรงงานบุญรอดบริวเวอรี่, ผัน วงษ์ดี สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและอดีตประธานสหภาพแรงงานเหล็กและโลหะ, ประสิทธิ์ ไชยทองพันธ์ ข้าราชการกระทรวงแรงงานและช่วยราชการเป็นหัวหน้ากองส่งเสริมมวลชนที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.), ร.ต.ท.วัชรินทร์ เนียมวณิชกุล ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 โรงเรียนนายสิบตำรวจ (ขณะเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นตำรวจสันติบาล), ร.ต.ท.อารีย์ มนตรีวัตร ผู้บังคับหมวด ตำรวจตระเวนชายแดนเขต 2 จ.ปราจีนบุรี (ขณะเถิดเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นผู้บังคับหมู่ประจำรถวิทยุ กองปราบปราม), พลตำรวจ ประสาท ชูสาร เจ้าหน้าที่พนักงานวิทยุรถสายตรวจปฏิบัติการพิเศษ, พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค รองผู้บังคับการ 2 กองปราบปราม, พลตำรวจสุริยะ อุยสุย กองบังคับการสาย ตรวจและปฏิบัติการพิเศษ, ส.ต.อ.อากาศ ชมภูจักร ผู้บังคับหมู่ กองกำกับการสนับสนุน อากาศ (ตำรวจพลร่ม) ค่ายเรศวรมหาราช กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์, พ.ต.ต.สพรั่ง จุลปาธรณ์ สารวัตรแผนกอาวุธพิเศษ กองบังลับการ สายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ[60]

สำหรับพยานโจทก์ปากแรก พ.ต.ท. สกลได้ให้การพร้อมส่งเอกสารรายงานของตำรวจสันติบาลเกี่ยวกับกิจกรรมและการเคลื่อนไหวของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนกลุ่มต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2515-2519 จำนวน 73 รายการ ยาว 354 หน้า เพื่อชี้ว่า พฤติการณ์ของนักศึกษานั่นทำให้เกิดการแบ่งแยกในหมู่ประชาชนซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวาย และส่อไปในการเป็นคอมมิวนิสต์ ในทำนองเดียวกัน การเบิกความของทนง เหล่าวานิช[61] ผัน วงษ์ดี และประสิทธิ์ ไชยทองพันธุ ซึ่งเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับขบวนการ แรงงาน ก็เป็นไปเพื่อชี้ว่าจำเลยมีพฤติกรรมก่อความวุ่นวายและฝักใฝ่ในระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะให้การเกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์ 6 ตุลา ในการเบิกความพยานโจทก์นั่นเอง ทีมทนายจำเลยได้ถามค้านพร้อมนั่งแสดง ภาพถ่ายเหตุการณ์ 6 ตุลาจำนวนมาก เพื่อให้พยานโจทก์อธิบายภาพเหล่านั่น ซึ่งในท้าย ที่สุดจะกลับหัวกลับหางให้จำเลยกลายเป็น “โจทก์” และโจทก์กลายเป็น “จำเลย” ต่อสายตาสาธารณชน คำอธิบายภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา จากปากคำพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฝ่ายโจทก์บนศาลทหารได้กลายเป็นคำบอกเล่าเรื่องราว 6 ตุลาโดยตัวมันเอง

ร.ต.ท.วัชรินทร์ นายตำรวจในภาพที่เป็นข่าวไปทั่วโลก ซึ่งกำลังคาบบุหรี่ขณะยิง ปีนเข้าไปในธรรมศาสตร์จากรั้วด้านหน้าหอประชุมใหญ่ ได้ให้การเมื่อถูกทนายฝ่ายจำเลยซักถามว่าเป็นภาพที่เกิดเหตุที่ไหนว่า “ข้าฯจำได้ว่าข้าฯ ไม่ได้ยิงปีนกระบอกที่ปรากฏในภาพถ่ายนั่นเลย เกี่ยวกับภาพที่กล่าวถึงนี้มีหนังสือพิมพ์อาทิตย์รายสัปดาห์ ได้เอาภาพดังกล่าวมาขอสัมภาษณ์ข้าฯ”[62]

ต่อภาพที่เจ้าหน้าที่ถืออาวุธสงครามเข้ามาปฏิบัติการในธรรมศาสตร์ ร.ต.ท. วัชรินทร์ ให้การว่า “อาวุธปืนที่ตำรวจถือเป็นปืนลักษณะคล้ายปืนบาซูก้า ปืนบาซูก้าใช้สำหรับยิงต่อสู้รถถัง”[63]

ด้าน ร.ต.ท.อารีย์ นอกจากจะยอมรับว่าอาวุธที่เจ้าหน้าที่ใช้ในปฏิบัติการวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้นเป็นอาวุธสงคราม มิใช่อาวุธปราบจลาจลแล้ว เมื่อทนายฝ่ายจำเลยได้ ให้อธิบายภาพกลุ่มกระทิงแดงที่ใช้อาวุธร่วมปฏิบัติการลับเจ้าหน้าที่ในวันที่ 6 ตุลา เขาตอบว่า “ในขณะนั้นข้าฯไม่เห็นภาพดังกล่าว… ถ้าเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในตอนนี้ เจ้าหน้าที่ก็จะต้องจับกุม”[64]

ส่วนภาพการทารุณกรรมต่อผู้ชุมนุมวันที่ 6 ตุลานั้น ร.ต.ท.อารีย์ให้การว่า “ข้าฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสั่งหรือบงการให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นตามภาพนั้นแต่อย่างใด”[65]

“ตามภาพที่ทนายให้ดูนั้น ภาพคนที่แบกปืนและคนที่ยืนอยู่ข้างท้ายรถเป็นภาพของคนที่แต่งเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ตำรวจ” พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค[66]

เช่นเดียวกับที่ พ.ต.ท. สล้างให้การว่า “ผู้ที่ตามภาพใช้เท้าเตะ และคนอื่นๆนั้น คนอื่นแต่งเครื่องแบบตำรวจ”[67]67

ส.ต.อ.อากาศก็ให้การยอมรับว่า “อาวุธปืนในภาพเอกสาร ล.15 ที่มีคนแบกอยู่ กับอาวุธปืนที่ดีดกล้องเล็งขนาดใหญ่… เป็นอาวุธปืน ปรส. [ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง] ภาพตำรวจที่แบกอาวุธปืน ปรส. ในภาพ… เป็นตำรวจตระเวนชายแดน”[68]

ขณะที่เมื่อทางทนายจำเลยให้ พ.ต.ท. สพรั่งดูภาพผู้ชุมนุมคนหนึ่งกำลังตอกอก นักศึกษาจนเสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา จากนิตยสารโลกใหม่ เขาให้การว่า “ข้าฯ ไม่เคยเห็นเหตุการณ์ตามภาพนั้น จึงไม่เห็นว่าตามภาพและคำบรรยายประกอบภาพดังกล่าวนั้นจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 ต.ค. 2519 หรือไม่ ถ้าเป็น… ก็เป็นเหตุการณ์ที่ทารุณมาก”[69]

ลบสีที่เปื้อนแก้วจึงแคล้วคลาด ช่อดอกไม้ขาวสะอาดเริ่มเบ่งบาน[70]

บรรยากาศทางการเมืองหลัง 6 ตุลา ถือว่าเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ หลังการสังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีการปิดหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว จากนั้นสื่อฉบับใดจะพิมพ์ออกมาจำหน่ายจะต้องยื่นเรื่องให้คณะรัฐประหารพิจารณาเป็นรายๆไป และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการตรวจสอบข่าวสาร ข้อหา “ภัยต่อสังคม” ที่ฝ่ายเผด็จการตั้งขึ้นมาก็สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนไปทั่ว กระทั่งมีการเผาทำลายหนังสือฝ่ายก้าวหน้าครั้งใหญ่ในลังคมไทยด้วยเกรงว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองถูกตั้งข้อหาดังกล่าวได้

ต้านขบวนการนักศึกษา องค์กรหลักอย่าง ศนท. ถูกยุบโดยคำสั่งของคณะรัฐประหาร องค์การนักศึกษาและชุมนุมชมรมต่างๆ ถูกปิด ส่วนแกนนำนักศึกษาหากไม่ถูกจำคุกก็หนี ไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์หรือไม่ก็ต้องหายตัวไปจากสาธารณะ กิจกรรมนักศึกษาที่เคยคึกคักยุติไป หรือไม่ก็ต้องลงไปเคลื่อนไหว “ใต้ดิน”

สำหรับบรรยากาศในธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกลายเป็นแค่สถานที่ราชการ ในห้องเรียนก็มีเจ้าหน้าที่มาร่วมฟังคำบรรยายด้วยเพื่อคอยรายงานไปยังผู้บังคับบัญชา พอหมดการเรียนการสอนแล้วก็ปิดตึก เมื่อเปิดเรียนอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2520 มีนักศึกษา และอาจารย์หายไปจากชั้นเรียนจำนวนมาก

ดูเหมือนว่าเวทีในการสู้กับรัฐบาลเผด็จการจะย้ายไปสู่เขตป่าเขา อย่างไรก็ดี  การต่อต้านรัฐบาลในเขตเมืองก็ใช่ว่าจะหมดสิ้นลงทั้งหมด ในมหาวิทยาลัยยังมีการโปรยใบปลิวลงมาจากอาคารหรือตั้งไว้ในห้องน้ำ เพื่อแสดงข้อมูลอีกต้านที่แตกต่างจากฝ่ายเผด็จการ

บรรยากาศจะเริ่มผ่อนคลายลงหลังการรัฐประหารซ้อน 20 ตุลาคม 2520 เพราะ รัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ สรุปบทเรียนแล้วว่า การดำเนินนโยบายขวาจัดมีแต่ ทำให้แรงความตึงเครียดมากชั้น และจะกลายเป็นการหนุนเสริมแนวร่วมให้แก่ พคท. ปลายปี 2520 กิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงเริ่มเกิดขึ้นอีกในระดับคณะและชมรม พอถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2521 รัฐบาลประกาศให้ทุกมหาวิทยาลัยสามารถมี องค์การ/สโมสรนักศึกษาได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของมหาวิทยาลัย สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเปิดให้นักศึกษาในหลายสถาบันเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการร่างธรรมนูญนักศึกษาฉบับใหม่ ให้มีการเลือกตั้งสภานักศึกษาและองค์การ/สโมสรนักศึกษา รวมทั้งการจัดทั้งพรรคนักศึกษา[71] ตลอดปี 2521 องค์กรเคลื่อนไหวในมหาวิทยาลัยต่างๆได้จัด ประชุมกันอย่างต่อเนื่องโดยมีภารกิจ “สร้างสรรค์ประชาธิปไตยขึ้นในดินแดนแห่งนี้ นับเป็นภาระอันใหญ่หลวงที่ทำให้ นศ. ทั้งปวงลุกขึ้นมาทวงสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย”[72]

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2521 นักศึกษาธรรมศาสตร์กว่า 2 พันคนประชุมกันที่หอประชุมใหญ่ เรียกร้องให้มีสภานักศึกษาและมีการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษาทางตรง รวมทั้ง เรียกร้องให้มีตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมกับฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อร่างธรรมนูญนักศึกษาด้วย มติครั้งนี้เรียกอันว่า “มติ 17 กุมภา” ทว่าภายหลังร่างธรรมนูญแล้วเสร็จ ฝ่ายบริหารกลับไม่ยอมรับ และประกาศใช้ระเบียบของทบวงมหาวิทยาลัยที่ให้เลือกตั้งสโมสรนักศึกษาทางอ้อมแทนและไม่มีสภานักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าชื่อกันกว่า 4 พัน คนเพื่อให้ฝ่ายบริหารชี้แจงจนกลายเป็นประเด็นขัดแย้งสำคัญในธรรมศาสตร์ ต่อมาคณะกรรมการนักศึกษา 8 คณะได้จัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีสโมสรนักศึกษาที่เป็นประชาธิปไตย และประกาศทั้ง “กลุ่มนักศึกษาต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย” หรือ นต.ปช.[73]เพื่อ เคลื่อนไหวในประเด็นนี้ อย่างไรก็ดีในเดือนสิงหาคมก็มีการเลือกทั้งสโมสรนักศึกษาทางอ้อม โดยให้นักศึกษาเลือกตั้งตัวแทนของแต่ละคณะ แล้วตัวแทนคณะไปเลือกกรรมการสโมสรนักศึกษาอีกต่อหนึ่ง[74]

ทำมกลางการฟื้นตัวของกิจกรรมนักศึกษาคู่ขนานไปกับการพิจารณาคดี 6 ตุลา นี้เอง ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2521 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้ ปรากฏมีเอกสารโรเนียวจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นจดหมายจากจำเลยคดี 6 ตุลา ที่เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ แจกจ่ายไปยังนักศึกษาปี 1 เพื่อเป็นการต้อนรับ “เพื่อนใหม่” ที่กำลังก้าว เข้ามาบนหนทางเดียวกัน (ดูจดหมาย 3 ฉบับท้ายบทความ)

จดหมายฉบับหนึ่งเขียนขึ้นที่ศาลทหาร กรมพลาธิการทหารบกปากเกร็ด เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค เข้าเบิกความต่อศาลในฐานะ พยานฝ่ายโจทก์ ความในใจที่เขียนถึงเพื่อนใหม่นั้น ได้ระบายความคับแค้นออกมาว่า

ฆาตกรกำลังพ่นนํ้าลายที่สกปรกเน่าเหม็นออกมาว่า มันไม่ได้สั่งยิง มันไม่รู้ว่ายิง นศ. ถูกไหม รู้แต่ว่า นศ.ยิงออกมาถูกตำรวจตายและบาดเจ็บ. มันบอกว่า ทารุณโหดร้าย นศ.ทำทารุณโหดร้าย. มันบอกว่าไม่เห็นคนถูกรุมซ้อม ทุบตี ไม่เห็นคนถูกแขวนคอเอา เก้าอี้ฟาด ไม่เห็นเพื่อนหญิงที่ถูกมันฆ่าข่มขืน ไม่เห็นเพื่อนเราที่ถูกยิงระเนระนาดจน เลือดนอง.

จดหมายถึงเพื่อนใหม่ไม่เพียงแต่เล่าถึงกรณี 6 ตุลาในมุมมองของเหยื่อเท่านั้น หากยังได้เชื่อมร้อยนักศึกษาหลัง 6 ตุลาให้หวนระถึกถึงความเจ็บปวดและความเสียสละ ของคนรุ่นก่อนหน้า และเข้ามาร่วม “งานวับใช้ประชาชน” เพื่อให้ความใฝ่ฝันของ “เรา” เป็นจริงในเร็ววัน

…ใครหาวันเวลาว่างๆสงบเงียบ ลองเงี่ยหูฟังดูสิว่า ยังได้ยินเสียงปืน และเสียงร่ำร้องของวีรชนทั้งหลายในวันนั้นไหม.
วิญญาณอันน่ายกย่องของเขาไม่ไปไหนหรอก มันยังฝังแน่นอยู่ตรงนั้น เพื่อเตือนให้เรารำลึกถึงอยู่ทุกขณะ.
…แต่เพื่อนๆคงเข้มแข็งกว่า ไม่มีน้ำตาและความเสียใจอีกแล้ว เพื่อนคงมีแต่ความเจ็บแค้นและความกล้าหาญ.
เจ็บแค้นที่มันฆ่าเราอย่างโหดร้าย เจ็บแค้นแทนเพื่อนที่เสียสละ. เพื่อนคงนึกอยู่ ตลอดเวลาถึงความเจ็บปวดขณะกระสุนรัวใส่ร่าง มันเจ็บปวดสักแค่ไหน หากเราเป็นเช่นนั้น.
กล้าหาญที่จะเอาชนะความเจ็บปวดและยากลำบากในการต่อสู้. ต่อกระสุน เพื่อนเรายังสู้ถึงชีวิต. ต่อความเหน็ดเหนื่อย ยากลำบาก หรือปัญหาในระหว่างการทำงาน เพื่อนต้องเอาชนะให้ได้อย่างกล้าหาญ. กล้าหาญให้ได้อย่างที่คนกล้าเสียสละ แม้แต่ชีวิต.
การต่อสู้จนกว่าความใฝ่ฝันจะเป็นจริง จนกว่าจะได้สังคมที่เป็นธรรม สังคมที่เป็นของประชาชน คือการแก้แค้นเจ้าคนที่ก่อกรณี 6 ตุลา และเป็นการทดแทนบุญคุณของวีรชน 6 ตุลา.
เพื่อนยิ่งเข้มแข็ง ความใฝ่ฝันก็จะเป็นจริงเร็ววันขึ้น.
การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของ นศ. ในมหาวิทยาลัย เป็นภาระที่มีเกียรติที่เพื่อนปรารถนาจะเอาชนะให้ได้. พยายามกันให้ถึงที่สุดนะ ถึงอย่างไรก็คงไม่เจ็บปวดเหมือนถูกกระสุนและคงไม่ถึงกับต้องเสียสละชีวิต.
ฉะนั้น เพื่อนๆคงทำได้.
เจ็บปวดเท่านี้ เสียสละเท่านี้ ยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับวีรกรรมของวีรชน 6 ตุลา. เพื่อนเองก็คงปรารถนาจะอุทิศตนให้กับงานรับใช้ประชาชนให้ยิ่งกว่าเติม แม้จะต้องเจ็บปวดและเสียสละมากกว่านี้.
อนาคตของคนทุกข์ยากนั้นสดใสและใกล้เข้ามาทุกที ด้วยสองมือของเพื่อนทุกคน รวมทั้งเพื่อนใหม่ด้วย.

ภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย การรณรงค์ในคดี 6 ตุลา นั้น เริ่มต้นด้วยประเด็น มนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน[75] องค์กรที่มีบทบาทโดดเด่นกลายเป็นองค์กรทางด้านศาสนาโดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ดังเห็นได้จากกรณีที่ ดร.โกศล ศรีสังข์ เลขาธิการสภา คริสตจักรในประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2520 เรียกร้องให้โอนคดี 6 ตุลาจากศาลทหารไปให้ศาลพลเรือนพิจารณาพิพากษา และเปิดให้จำเลยมีทนายความได้ วันเดียวกันนั้น สังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ ประธานกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม ก็เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีเช่นกัน สนับสนุนให้มีการพิจาฌาคดี 6 ตุลาในศาลพลเรือน รวมทั้งให้มีการประกันตัวผู้ต้องหาได้ ด้านนายจอห์น ทากาจิมะ เลขาธิการสภาคริสตจักรแห่งชาติญี่ปุ่น ก็ส่งโทรเลขถึง นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้พิจารณาคดี 6 ตุลาในศาลพลเรือน และขอให้พลเมืองญี่ปุ่นที่ สนใจคดีนี้เข้าพบหากมาเยือนญี่ปุ่น

เดือนกันยายน 2520 นักศึกษารามคำแหง 7 คณะได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้พิจารณาคดี 6 ตุลา ในศาลพลเรือน และในเดือนลัดมา ภายหลังเกิดการ รัฐประหารอีกครั้ง วณี บางประภา บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศิลปคาสตร์ ธรรมศาสตร์[76] ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมรายชื่อนักศึกษาประชาชน 632 คน ถึงหัวหน้าคณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2520 โดย มีเนี้อหาว่า

การที่ผู้บริหารประเทศชุดที่แล้วมีนโยบายที่แข็งกร้าวต่อประชาชนที่มีทรรศนะผิดไปจากตนเป็นเหตุให้มีประชาชนเป็นจำนวนมิใช่น้อยต้องถูกจับกุมอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้เนื่องโดยมีสาเหตุเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างจากเขาเท่านั้นเอง ซึ่งเราเชื่อว่าหาก ฯพฌฯ และคณะ จะให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกจองจำในข้อหาทางการเมือง ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ต้องหาเหล่านี้ได้มีโอกาสใช้ความสามารถเข้ามาร่วมแก้ไขพัฒนาบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ก็จะเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดได้มาก[77]

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2520 ประชาชนหลายกลุ่ม เช่น สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย, สังฆราชบุญเลื่อน, กลุ่มคณาจารย์จากธรรมศาสตร์และจุฬาฯ, และญาติผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ก็ทำหนังสือถึง พล.อ. เกรียงศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เสนอให้มีการนิรโทษกรรมจำเลยคดี 6 ตุลา รวมทั้งบรรดาผู้ที่ถูกจับกุมในข้อหาภัยของสังคม เพื่อลบรอยแตกร้าวในประเทศ วันที่ 2 ธันวาคม นักศึกษาจาก 5 สถาบัน ประกอบด้วยธรรมศาสตร์ มหิดล รามคำแหง ศิลปากร และจุฬาฯได้เข้าชื่อกัน 5,910 คน และส่งตัวแทนยื่นหนังสือถึง พล.อ. เกรียงศักดิ์ ขอให้พิจารณานิรโทษกรรมผู้ต้องหา 6 ตุลา เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ ขณะเดียวกัน ภายหลังจากมีข่าวว่ารัฐบาล จะขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษทั่วไป และนิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมืองกรณี กบฏ 26 มีนาคม 2520[78] เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา กลุ่มชาวไทยในฝรั่งเศสจำนวน 54 คน โดยมีชื่อปรีดี พนมยงค์ ร่วมเป็นหนึ่งในนั้น ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้มิการนิรโทษกรรมครอบคลุมไปถึงผู้ที่ถูกจับกุมเนื่องจากเหตุการณ์ 6 ตุลาด้วย

แต่ปรากฏว่า ในวาระ 5 ธันวาคมปีนั้นนักโทษการเมืองที่ได้รับการนิรโทษกรรม มีแค่กบฏ 26 มีนาคม 2520 กรณีเดียว[79] เหตุการณ์นี้ยิ่งส่งผลให้เสียงเรียกร้องให้มิการ นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองกรณี 6 ตุลา ดังมากฃึ้นทุกขณะ ทางต้าน พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชี้”แจงว่า หลังจากศาล1ได้ชี้’ขาดแล้ว รัฐบาลจึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะออกกฎหมายนิรโทษ- กรรมหรือไม่

ต้นเดือนมกราคม 2521 เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย ได้แถลง หลังเชิญอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาประชุมหารือว่า กรณีนักศึกษาที่ต้องพ้นสภาพสืบเนื่องจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ให้มีสิทธิกลับเข้าศึกษาได้ และในปลายเดือนนั้น คณาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาการนิรโทษกรรมกรณี 6 ตุลาอีกครั้งหนึ่ง สิ้นเดือนมีนาคม 2521 สามัคคีสมาคม องค์กรของนักศึกษาไทยในลอนดอน ได้เปิดประชุมสมัชชาแล้วมีมติเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ปล่อยตัว นักโทษการเมือง 6 ตุลา และผู้ต้องหาภัยต่อสังคมทั้งหมด พร้อมทั้งให้ตั้งกรรมาธิการ ขึ้นมาเพื่อพิจารณาหาข้อเท็จจริงกรณี 6 ตุลามาเสนอให้ประชาชนทราบ

สำหรับองค์กรต่างประเทศก็ติดตามคดี 6 ตุลาอย่างใกล้ชิด มีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งเข้าเยี่ยมผู้ต้องหา และในเดือนพฤษภาคม 2521 องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งทางองค์การได้ทำบัญชีไว้ว่ามีมากถึง 1 พันคน โดยจำนวนมากถูกขังโดย ปราศจากการไต่สวน

หลังถูกกดดันจากรอบด้าน ประกอบกับความพลิกผันในการพิจารณาคดี 6 ตุลา ที่ยิ่งดำเนินไปแทนที่จะเอาผิดจำเลยตามที่ได้กล่าวโทษไว้ กลับกลายเป็นการ “เปลือย” ให้เห็นความไม่ชอบธรรมของการสังหารหมู่ 6 ตุลามากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดวันที่ 12 กันยายน 2521 พล.อ. เกรียงศักดิ์ นายกรัฐมนตรี จึงได้เสนอวาระเรื่องกฎหมายนิรโทษ- กรรมผู้ด้องหาคดี 6 ตุลา ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมไม่มีเสียงคัดค้านและได้มอบหมายให้สมภพ โหตระกิตย์ รองนายกฯ ฝ่ายการเมือง, อธิบดีกรมอัยการ, เจ้ากรม พระธรรมนูญหทาร, และมีชัย ฤชุพันธุ รองเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายเป็นผู้ร่างกฎหมาย ซึ่งใช้เวลาร่างเพียง 1 ชั่วโมง[80] ทั้งนี้ พล.อ. เกรียงศักดิ์ได้ให้สัมภาษณ์ ถึงเหตุที่ต้องเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมว่า หากให้มีการพิจารณาคดีต่อไปอาจกินเวลา 4-5 ปี[81]

รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นญัตติต่วนต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 15 กันยายน 2521 เช้าวันนั้นนางวิมล เจียมเจริญ นักเขียนนามปากกา “ทมยันตี” ได้ลุกขึ้นอภิปรายคัดค้านการนิรโทษกรรมอย่างหัวชนฝาก่อนจะลุกออกจากที่ประชุมหลังจากสภาลงมติรับหลักการ[82] จากนั้นสภาก็พิจารณาต่อและผ่านวาระ 3 ด้วยคะแนน 180 ต่อ 1 โดยผู้ที่ลงคะแนนคัดค้านคือนายสง่า วงศ์บางชวด ทันทีที่กฎหมายผ่านสภา พล.อ. เกรียงศักดิ์เดินทางไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ทันทีเพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย

เมื่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 มีผลใช้บังคับ จำเลยคดี 6 ตุลา 18+1 คน และ ทุกคน ที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จึงพ้นจาก ความผิดโดยสิ้นเชิง ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า

โดยที่ได้พิจารณาเห็นว่า การพิจารณาคดีเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้น ได้ล่วงเลยมานานพอสมควรแล้ว และมีท่าที่ว่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกนาน ถ้าจะดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จสิ้นก็จะทำให้จำเลยต้องเสียอนาคตในทางการศึกษาและการประกอบอาชีพยิ่งขึ้น และเมื่อคำนึงถึงว่าการชุมนุมดังกล่าวก็ดี การกระทำอันเป็นความผิดทั้งหลายทั้งปวงก็ดี เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่เข้าใจ ในสถานการณ์ที่แท้จริงเพราะเหตุแห่งความเยาว์วัยและการขาดประสบการณ์ของผู้กระทำความผิด ประกอบกับรัฐบาลนั้นมีความประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะให้เกิดความสามัคคีในระหว่างชนในชาติ จึงเป็นการสมควรให้อภัยการกระทำดังกล่าวนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดทั้งผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่และผู้ที่หลบหนีไปได้ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร และกลับมาร่วมกันทำคุณประโยชน์ และช่วยกันจรรโลงประเทศชาติให้ เจริญรุ่งเรืองต่อไป[83]

ทั้งนี้ “บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆที่เกิดขึ้นในหรือเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และ ได้กระทำในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไม่ว่ากระทำในฐานะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับ ผิดโดยสิ้นเชิง” (มาตรา 3) ส่วนจำเลยในคดีหมายเลข ดำที่ 253/ก2520 ของศาลทหาร กรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19) และในคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา (คดี ของบุญชาติ เสถียรธรรมณี) ให้ศาลดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมด (มาตรา 4)

เย็นวันที่ 16 คันยายน 2521 ศาลได้อ่านคำสั่งปล่อยตัวจำเลยคดี 6 ตุลา ทั้งหมด นักศึกษาประชาชนที่รอดตายจากการสังหารหมู่ได้รับ “อิสรภาพ” แลกกับความรอมชอม สมานฉันท์ที่ต้องเก็บซ่อนความขัดแย้งแตกต่างในสังคมเอาไว้ลึก ๆ[84] อีก 2 วันถัดมาสโมสรนักศึกษาธรรมศาสตร์ได้ร่วมกับสโมสรนักศึกษาอีก 8 สถาบัน จัดงานรับขวัญ “ผู้

บริสุทธิ์ 6 ตุลา” ที่ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการรวมตัวกัน

ขององค์กรนักศึกษาครั้งใหม่หลัง 6 ตุลา[85]

ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา ไปถึง 20 ปี “กฎ 6 ต.ค. 2519” ที่ให้ศาลพลเรือนเป็น ศาลทหารในเวลาไม่ปกติและให้ศาลทหารพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับความผิดอันเป็นคอมมิวนิสต์จึงจะถูกยกเลิก[86] ในขณะที่ “6 ตุลา” ยังคงค้างคาเป็น “ความหลักอีเหลื่อแห่งชาติ”[87]ยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย แต่ยากที่จะมีคำตอบ ไม่มีที่ทางในประวัติศาสตร์แห่งความรู้รักสามัคคีสามัคคีภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรมจนกระทั่งทุกวันนี้

เชิงอรรถ

[1] ลำดับเหตุการณ์ 6 ตุลา เรียบเรียงจาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ภาคผนวก “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองกับการเมืองไทย : ความเป็นไปในรอบ 48 ปี,” เพียงวันวาร, มธก. 24 (ม.ป.ท., 2524), 263-266; เราคือผู้บริสุทธิ์, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: กลุ่มเนติธรรม, 2522); วัฒนชัย วินิจจะกูล, บรรณาธิการ,สมุดภาพเดือนตุลา,พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: ทางไท, 2533); ใจ อึ๊งภากรณ์, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ, อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519, 2554).

[2] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา,” ใน ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง (กรุงเทพฯ : 6 ตุลารำลึก, 2544), 161-207.

[3] ดู “คำปรารภ” ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519.

[4] ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2519 ได้กำหนดแผน 12 ปีนี้เป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) ระยะสี่ปีแรก เป็นระยะฟื้นฟูเสถียรภาพของประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ในระยะนี้สมควรให้ราษฎรมีส่วนใน การบริหารราชการแผ่นดิน โดยทางสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งมีสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุม การบริหารราชการแผ่นดินในขณะเดียวกันก็จะเร่งเร้าให้ประชาชนเกิดความสนใจและตระหนักในหน้าที่ของตน (2) ระยะสี่ปีที่สอง สมควรเป็นระยะที่ให้ราษฎรมีส่วนในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้น โดยจัดให้มีรัฐสภาอันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งสองสภานี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเท่าเทียมกันและ (3) ระยะสี่ปีที่สาม สมควรขยายอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรให้มากขึ้น และลดอำนาจของวุฒิสภาลงเท่าที่จะทำได้ ต่อจากนั้นไปถ้าราษฎรตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อชาติบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยดีแล้ว ก็อาจยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎร

[5] ประชาธิปไตย, 24 กันยายน 2519, 1. อ้างจาก สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, “เหตุการณ์ 6 ตุลา เกิดขึ้น ได้อย่างไร,” ใน ใจ อึ๊งภากรณ์, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง, 151.

[6] ประชาชาติ, 25 กันยายน 2519, 1. อ้างจาก สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, “เหตุการณ์ 6 ตุลา เกิดขึ้นได้ อย่างไร”, 152.

[7] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “คืนที่ยาวนาน: การไม่ตัดสินใจสลายการชุมนุมในธรรมศาสตร์คืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519,” ใน ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง, 155-160.

[8] ดู คำร้องฝากขังครั้งที่ 1 พ.10518/2519, วันที่ 12 ตุลาคม 2519, ใน ธวัช สุจริตวรกุล (รวบรวม), คดีประวัติศาสตร์คดี 6 ตุลา (กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2521), 50-51. ขณะนั้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี โทษนั้นจะถูกแก้ไขเพิ่มเป็นจำกุกอย่างตา 3 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี โดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41, วันที่ 21 ตุลาคม 2519.

[9] แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 120 ฉบับพิเศษ (6 ตุลาคม 2519): 1-4.

[10] เรื่องเดียวกัน.

[11] “ข้อมูลล่าสุด!! ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เข้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519,” ใน ชลธิรา สัตยาวัฒนา, กรีดแผล กลัดหนอง กรองความจริง โดยผู้หญิง 6 ตุลาฯ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, 2544), 151-152.

[12] สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย (กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551), 165.

[13] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 120 ฉบับ พิเศษ (6 ตุลาคม 2519): 6-10.

[14] “พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2511,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85, ตอนที่ 123 ฉบับพิเศษ (31 ธันวาคม 2511): 1.

[15] ดู พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 36.

[16] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 8,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 120 ฉบับ พิเศษ (6 ตุลาคม 2519): 21-22..

[17] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 14,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 121 ฉบับพิเศษ (7 ตุลาคม 2519): 7.

[18] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 128 ฉบับพิเศษ (13 ตุลาคม 2519): 1-5.

[19] คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 14-18

[20] ดูคำให้การของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศของคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2520 ใน สมยศ เชื้อไทย, บก., คดีประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม ใครคือฆาตกร (กรุงเทพฯ: ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531), 30.

[21] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 29,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 133 ฉบับพิเศษ (19 ตุลาคม 2519): 3-4.

[22] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 30,” 57ชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 133 ฉบับพิเศษ (19 ตุลาคม 2519): 5-6.

[23] ดู คำร้องฝาก,ขังครั้งที่ 1 ที่ พ. 10518/2519, วันที่ 12 ตุลาคม 2519, ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 50-51.

[24]  “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 28,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 133 ฉบับพิเศษ (19 ตุลาคม 2519): 1-2.

[25] “ เรื่องเดียวกัน.

[26] “ “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 25,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 130 ฉบับพิเศษ (17 ตุลาคม 2519): 3-27.

[27] “คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93, ตอนที่ 134 ฉบับพิเศษ (21 ตุลาคม 2519): 46-51.

[28]  “แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน,” 6 ตุลาคม 2519.

[29] คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 48-53

[30] “ข้อความล่าสุด!! ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เข้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519.”

[31] คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 47.

[32] ดู พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512; และ “คำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 25.”

[33] ดู คำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 6 ต่อศาลอาญา ที่ 10525/2519, วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2520; และ คำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพ ที่ 1/2520, วันที่ 22 มีนาคม 2520; ใน คดีประวัติศาสตร์คดี 6 ตุลา, 53-59.

[34] เรื่องเดียวกัน

[35] ดู คำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพ ที่ 2/2520, วันที่ 16  มิถุนายน 2520; ใน คดีประวัติศาสตร์คดี 6 ตุลา, 61-66.

[36] “จดหมายจากอนุพงศ์ พงศ์สุวรรณ,” เราคือผู้บริสุทธิ์, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กลุ่มเนติธรรม, 2522), 115.

[37] กองบรรณาธิการอาทิตย์, “ลำดับเหตุการณ์,” คดี 6 ตุลาฯ (กรุงเทพฯ: อาทิตย์, 2521), 67.

[38] หมายถึงอายุของจำเลยขณะถูกจับกุม

[39] ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โอริสสาถูกตำรวจจ่อยิงขณะอยู่ในนํ้าที่ท่าพระจันทร์ หัวกระสุนนัดหนึ่ฝังอยู่ในกรามต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เขาไต้รับการประกันตัวเพียงเดือนเดียวแล้วถูกตำรวจถอนประกันไปขังไว้ที่เรือนจำบางเขนทั้งที่ยังรักษาไม่หาย ฟันทั้งปากมีลวดยึดไว้ กินอาหารตามปกติไม่ไต้ ระหว่างถูกคุมขัง ไม่ไต้รับการรักษาที่เหมาะสมส่งผลให้บาดแผลรุนแรงกว่าเดิม แพทย์ศิริราชพยายามขอตัวไปรักษา แต่ตำรวจก็คัดค้านการประกันตัว กระทั่งมีการเผยแพร่ข้อมูลออกไปทั้งในและต่างประเทศมากแล้ว ถึงเดือนมิถุนายน 2520 โอริสสาจึงไต้ออกไปรักษาที่คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ เป็นครั้งคราว

[40] คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 36-37.

[41] ดูคำฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 25 สิงหาคม 2520, ใน คดีประวัติศาสตร์คดี 6 ตุลา, 68-97; และดูบัญชีข้อหาแนบท้ายคำร้องของอัยการศาลทหาร กรุงเทพที่ 2/2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 16 มิถุนายน 2520, ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 65.

[42] ดูรายชื่อองค์คณะตุลาการใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 99.

[43] คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 100-102. เนื่องจากคดีนี้จำเลยไม่มีสิทธิแต่งตั้งทนาย ในชั้นแรกจำเลย จึงมีแต่ที่ifรกษากฎหมาย ซึ่งศาลทหารให้ปจึกษาได้นอกศาลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรือนจำอ้างว่าคดีนี้ ห้ามมีทนายความ จำเลยจึงพบกับที่ปรึกษากฎหมายที่เรือนจำได้ก็ในฐานะคนเยี่ยมธรรมดาเท่านั้น โดยระหว่าง พบกันจะมีเจ้าหน้าที่ยืนฟ้งอยู่ด้วยอย่างใกล้ชิด

[44] ดู บัญชีระบุพยาน คดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19), ใน คดี ประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 103-116.

[45] สยามจดหมายเหตุ 2, 36 (2 -10 กันยายน 2520): 983-985; “แถลงการณ์ เรื่อง กรณีผู้ถูกจับกุมเนื่องจากเหตุการณ]นวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519,” ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 339-341. กรฌีสม’ชาย หอม ลออ น่าสนใจว่า เขาเป็นนักกิจกรรมตั้งแต่ในสมัย 14 ตุลา เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “สภาหน้าโดม” เป็นผู้มี บทบาทสำคัญคนหนึ่งที่อยู่เมื่องหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และมีบทบาทเรื่อยมาในขบวนการนักคึกษา สม’ชายถือ เป็นแกนน่าคนหนึ่งของการชุมนุมในคืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ต่อเนื่องถึงรุ่งเช้าวันที่ 6 ตุลาคม และเป็นคนหนึ่ง ที่ถูกตำรวจทำร้ายในเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งจากข้อมูลของสมคักดิ้ เจียมธีรสกุล หนึ่งในจำเลยคดี 6 ตุลา เป็ดเผย ในภายหลังว่า สมชายเป็น “ตัวสำคัญ” ในขบวนการน้กคืกษา ดู •“สมคักดิ้ เจียมฯ’ โพสตัภาพ ‘สมชาย หอมลออ’ เลือดอาบ 6 ตุลา 19 เรียก ‘ผัวเมียทะเลาะคัน’,” มดีชนคอนใลน, 3 กุมภาพันธ์ 2555, http://www.matichon. C0.th/news_detail.php?newsid=l329984746. การปล่อยตัวสม’ชายไปอาจจะลือว่าเป็นการปล่อยที่ “ผิดตัว” สำหรับรัฐบาล ต่อมาในณรัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ดิฌสูลานนทํ มีการจับกุมคอมมิวนิสต์อีกรอบ สมชายเป็นอีก คนหนึ่งที่ถูกไล่ล่าจนต้องหลบหนีไปยังสหรัฐอเมริกา

[46] ดู คำแถลง คดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 23 คันยายน 2520, ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 124-126.

[47] ดู รายงานการพิจารณา คดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 5 ตุลาคม 2520, ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 128-130.

[48] การรัฐประหารครั้งนึ่พยายามเลียนแบบการรัฐประหารตัวเองของจอมพลสฤษดิ้ ธนะรัชต์ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยเลือกวันรัฐประหารและชื่อคณะรัฐประหารเดียวคันคับเมื่อ 19 ปีก่อนหน้านั้น

[49] “แถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94, ตอนที่ 98 ฉบับพิเศษ (20 ตุลาคม 2520): 1-3.

[50] “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25,” ราชกิจจานุเบกบา เล่ม 94, ตอนที่ 109 ฉบับพิเศษ (8 พฤศจิกายน 2520): 54-56; “แก้คำผิด,” ราชกิจจานุเบกบา เล่ม 94, ตอนที่ 110 ฉบับพิเศษ (8 พฤศจิกายน 2520): 17.

[51] พล.อ. เกรียงคักดิ้เ1ข้าดำรงตำแห่งนายกฯ เบื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 หลังมีธรรมนูญการ ปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520

[52] กองบรรณาธิการอาทิตย์, คดี 6 ตุลาฯ, 73-77.

[53] ดูรายชื่อทนายของจำเลยแต่ละคนได้ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 41-43.

[54] ดู คำให้การจำเลย, คดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วัน ที่ 9 มีนาคม 2521, ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 134-142. คำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรนี้ ยื่นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2520 แต่ศาลขอให้แก้ไขข้อความบางตอน จึงพิมพ์เสนอใหม่ในวันที่ 9 มีนาคม 2521

[55] ดู คำร้องคดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 4 มกราคม 2521, ใน คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 146-156. เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ในคำร้องนั้นมีการยกพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของพระปกเกล้าฯ ขึ้นมาใช้ในการวิพากษ์การจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นมาเพื่อปราบปรามในทางการเมืองด้วย ซึ่งในกรณีของพระปกเกล้าฯ นั้น เป็นการโจมตีรัฐบาลของคณะราษฎรที่ดำเนินการปราบปราม นักโทษการเมืองนับตั้งแต่เกิดกบฏบวรเดชเรื่อยมา ซึ่งฝ่ายคณะราษฎรเห็นว่าพระปกเกล้าฯ และเจ้านายชั้นสูงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทำนองเดียวกัน ในคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรของจำเลยก่อนหน้านั้น ก็มีการโจมตีการประกาศ ใช้กฎหมายและการนับถือกฎหมายที่มิได้มีการประกาศโดยพระปรมาภิไธย ซึ่งก็หมายถึงคำสั่งหรือประกาศของ คณะรัฐประหาร โดยกลับไปอ้างถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 เหล่านั้นเป็นร่องรอยของแนวคิด “กษัตริย์นักประชาธิปไตย” ที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ปัญญาชนตั้งแต่ก่อน 14 ตุลา

[56] ดู คำร้องคดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 22 มิถุนายน 2521 และวันที่ 29 มิถุนายน 2521 ; และคำสั่งคำร้องจำเลยฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน 2521, ใน สมยศ เชื้อไทย, บก., คดีประวัติศาสตร์ 6 ตุลา ใครคือฆาตกร, 342-361.

[57] จำเลยคดี 6 ตุลาถูกแยกขังไว้ 3 แห่งที่เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำชั่วคราวโรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน และทัณฑสถานหญิงลาดยาว สำหรับสภาพขณะถูกจองจำดู “บันทึกจากกรงขัง,” ใน กองบรรณาธิการอาทิตย์, คดี 6 ตุลาฯ, 29-49; และ57คือผู้บริสุทธิ์.

[58] คำร้องคดีหมายเลขดำที่ 253 ก./2520, ศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 2519), วันที่ 16 มกราคม 2521, ใน คดีประวัติศาลตร์ คดี 6 ตุลา, 174-178.

[59] กองบรรณาธิการอาทิตย์, คดี 6 ตุลาฯ, 77-78.

[60] คำให้การพยานทั้งหมดอยู่ใน คดีประวัติศาสตร์คดี 6 ตุลา; และ ธวัช สุจริตวรกุล (รวบรวบ), คดีประวัติศาสตร์ คติ 6 ตุลา, เล่ม 2 (กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, ม.ป.ป.).

[61] การสืบพยานโจทก์ปากนี้เป็นการพิจารณาลับ 2 ครั้ง เนื่องจากอัยการศาลทหารกรุงเทพแถลงต่อศาล ว่าคำเบิกความของพยานมีพาดพิงถึงพระบาทณแด็จพระเจ้าอยู่หัว

[62] สมยศ เชอไทย, บก., คติประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม ใครคือฆาตกร, 110.

[63] เรื่องเดียวกัน, 126.

[64] เรื่องเดียวกัน, 191.

[65] เรื่องเดียวกัน, 200-201.

[66] เรื่องเดียวกัน, 239.

[67] เรื่องเดียวกัน, 293.

[68] เรื่องเดียวกัน, 301.

[69] เรื่องเดียวกัน, 314.

[70] จากเสภาพิธีบายศรีลู่’ขวัญ 19 ผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ที่ลานโพธิ์ธรรมศาสตร์, ดู กองบรรณาธีการ อาทิตย์, “พิราบขาวยังบินเห่หาเฟรี,” คดี 6 ตุลาฯ, 18.

[71] สำหรับภาพรวบการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาหลัง 6 ตุลา ดู ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น, “ขบวนการนักศึกษาไทย : วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาไทยในเมืองช่วงระหว่าง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2531” (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554).

[72] เรื่องเดียวกัน, 169.

[73] ต่อมาได้กลายเป็นพรรคแสงธรรมของนักศึกษาธรรมศาสตร์ และได้บริหารองค์การนักศึกษา ธรรมศาสตร์เป็นเวลาหลายปีดีดต่อกัน

[74] นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนแรก ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ภาคผนวก “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองกับการเมืองไทย,” 265-266.

[75] การเคลื่อนไหวเรียกร้องเกี่ยวกับคดี 6 ตุลาของกลุ่มต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป หากไม่ระบุเป็นอย่างอื่น ผู้เขียนเรียบเรียงมาจากเอกสารในคดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 302-321; และจาก “ลำดับเหตุการณ์,” ใน กองบรรณาธิการอาทิตย์, คดี 6 ตุลาฯ, 67-81.

[76] ต่อมาคือ พระไพศาล วิสาโล ผู้มีบทบาททางด้านสันตวิธีคนหนึ่งในปัจจุบัน

[77] คดีประวัติศาสตร์ คดี 6 ตุลา, 310.

[78] ในวันที่ 26 มีนาคม 2520 มีความพยายามก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบกที่ยังมีอิทธิพลอยู่ในกองทัพ แต่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลว คณะผู้ก่อการรัฐประหารถูกจับกุม ต่อมา ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 มาตรา 21 มีคำสั่งให้ถอดยศและ ประหารชีวิต พล.อ.ฉลาด จำคุกตลอดชีวิตผู้ก่อการอีก 12 คน และลงโทษผู้ก่อการที่เหลือ 11 คนลดหลั่นลง ไป เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นรอยปริแยกภายในกองทัพหลัง 6 ตุลาด้วยเช่นกัน

[79] ดู “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นของรัฐภายในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520,” ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94, ตอน ที่ 121 (3 ธันวาคม 2520): 1.

[80] กองบรรณาธิการอาทิตย์, “ความลับและความหวังในรัฐสภาฯ,” คดี 6 ตุลาฯ, 5-9.

[81] กองบรรณาธิการอาทิตย์, คดี 6 ตุลาฯ, 81.

[82] กองบรรณาธิการอาทิตย์, “ความลับและความหวังในรัฐสภาฯ,” 9.

[83] “พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง วันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95, ตอนที่ 87 (16 กันยายน 2521): 1. (ขีดเส้นใต้เน้นโดยผู้เขียน)

[84] ในประเด็นนี้ ดูทัศนะของอดีตจำเลยคดี 6 ตุลาคนหนึ่งใน ธงชัย วินิจจะกูล, “ความอิหลักอิเหลื่อแห่งชาติเนื่องมาจาก 6 ตุลา 2519 : [ไม่เป็น] ประวัติศาสตร์, [ไม่มี] อนุสาว’รีย, [ไม่ใช่] วีรชน, [ไม่สนใจ] ชีวิต,”ตุลากาล (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประสานงาน 20ปี 6 ตุลา, 2539), 242-290.

[85] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ภาคผนวก “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองกับการเมืองไทย,” 265.

[86] “พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ให้ศาลพลเรือนเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และที่ให้ศาลทหารพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับความผิดอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2539,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113, ตอนที่ 27ก (11 กรกฎาคม 2539): 1-4.

[87] ดู ธงชัย วินิจจะกูล, “ความอิหลักอิเหลื่อแห้งชาติเนื่องมาจาก 6 ตุลา 2519.”