Documentation of Oct 6

จรัล ดิษฐาอภิชัย

อ. ใจ :                  ครับในวันที่ 5 ตุลาคม เป็นต้นไป อาจารย์ช่วยเล่าให้ฟังได้มั้ยครับ ว่า อาจารย์อยู่ที่ไหนและเห็นอะไร

อ. จรัล :               ผมจะย้อนไปหน่อยนะ ผมคิดว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม นี่มันต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ จอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศไทย ผมจำได้ว่าเป็นวันที่ 19 ก. ย. 2519 และวันนั้นพอพวกเราได้ข่าว พอมีข่าวผมขณะนั้น เป็นกรรมการกลางพรรคสังคมนิยม ด้วย ผมก็ไปที่สำนักงานพรรค ขณะนั้นอยู่แถวคลองประปาเยื้องไปทางสะพานควายก็พบ ดร. อภิชัย พันธเสน แล้วโทรตาม ดร . ไตรรงค์ สุวรรณคีรี แล้วพวกเรา 3 คนก็ไปบ้านอาจารย์ เจริญ คันธวงค์ ซึ่งตอนนั้นเป็น รมต. ประจำสำนักนายยกรัฐมนตรีของรัฐบาล ที่ไปคือต้องการไปถามข่าวคราวว่าที่จอมพล ถนอม กลับเข้ามานี่ทางรัฐบาลได้รู้ระแคะระคาย มาบ้างมั้ย แล้วก็คิดอย่างไร เพราะเราคิดว่า เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องใหญ่แน่ ที่จอมพลถนอมกลับเข้ามา ปรากฎว่า อ. เจริญ คันธวงค์  (เวลานั้นยังไม่เป็นด็อกเตอร์) ก็บอกว่าไม่รู้เรื่อง แล้วก็คิดว่าผู้นำรัฐบาลคนอื่น ๆ ก็คงไม่รู้เรื่องด้วยไม่รู้ระแคะระคายมาก่อน ว่าจอมพลถนอมนี่กลับเข้ามาได้อย่างไร ใครเป็นคนคิดใครเป็นคนแนะนำให้บวชเณร ใครเป็นคนพาเข้ามา เพราะฉะนั้นพวกเราที่ไปสามคนเราก็รู้สึกผิดหวังเพราะเราไม่รู้ไม่มีข้อมูลอะไรในการที่จะวิเคราะห์สถานการณ์เป็นอย่างไร แต่คาดได้แน่ ๆ ว่าก็คงจะเป็นแผนของพวกกลุ่มที่จะสร้างสถานการณ์ เพื่อทำรัฐประหาร เพื่อปราบปรามนักศึกษาประชาชน แล้วผมเองก็ตามข่าวทั้งวัน พยายามโทรหาพยายามไปหาคนที่คาดว่าเขารู้ แล้วก็คุยกับพรรคพวก คุยกับกรรมกรพรรคสังคมนิยม คุยกับคนนั้นคุยกับคนนี้ที่อยู่ในขบวนการนักศึกษาแล้วก็ตอนกลางคืนยิ่งชัดเจนอีกราว ๆ คือตอนเย็นนี่พวกผมอยู่ที่ธรรมศาสตร์ ก็อยู่ที่ธรรมศาสตร์นั่งคุยกับน้อง ๆ แล้วก็ตอนเย็นก็ได้ข่าวว่า สมเด็จพระราชินี เสด็จไปวัดบวร ฯ ที่จอมพลถนอม มาจำวัดก็ทำให้วิเคราะห์กันใหญ่ วิเคราะห์ว่าเป็นอย่างไรสถานการณ์

อ.ใจ :                  ขอถาม อ.จรัล เพิ่มนิดนึง อาจารย์พูดถึงคนที่แนะนำให้จอมพลถนอมบวช หรือพาจอมพลถนอมเข้ามา หรือเป็นการวางแผน ทำไมอาจารย์ไม่คิดว่าจอมพลถนอมตามลำพังไม่คิดจะบวชเอง ……..( ไม่ชัด )

อ. จรัล :              ในเวลานั้นผมวิเคราะห์ว่าเป็นแผนของของบางกลุ่ม คือ กลุ่มฝ่ายขวาทั้งที่อยู่ในกองทัพ และอยู่นอกกองทัพ ไม่แนะนำ เพราะฉะนั้นจอมพลถนอมมาอยู่ที่สิงคโปร์  ไม่แนะนำ เพราะการให้คน อายุ 65 ปี บวชเณร คือไปแนะนำให้บวชเณรเข้ามา ผมไม่คิดว่าจอมพลถนอมจะคิดเองคงจะเป็นคนอื่น จนเวลานี้ผมยังคิดว่า ต้องมีคนแนะนำ เพราะก่อนหน้านั้นในเดือนสิงหาคม จอมพลประภาส กลับเข้ามา ช่วงนั้นนักศึกษา ประชาชน ที่ต่อต้านการกลับเข้ามาได้ชุมนุมที่สนามหลวง และเข้าไปที่ธรรมศาสตร์ จนกระทั่งบีบบังคับให้รัฐบาลไปขอให้จอมพลประภาสกลับออกไป จอมพลประภาสกลับเข้ามาคงเป็นแผนด้วยแต่ไม่สำเร็จ ก็ไปใช้จอมพลถนอมตอนนี้ก็อายุมากแล้ว ก็น่าจะพูด น่าจะบอกเพราะเป็นไปไม่ได้ ทีนี้พอหลังจากวันที่ 20–21-22-23  กันยายน ผมกับทางพรรคสังคมนิยม กรรมกรพรรคก็ประชุม แค่คุยวิเคราะห์สถานการณ์กัน ดูแนวโน้มสถานการณ์แล้วนี้คงจะเนื่องเราวิเคราะห์ว่าเป็นแผน เราก็ต้องระมัดระวังการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวที่ใช้เวลานั้น ก็คือข่าว, แถลงข่าว, ติดโปสเตอร์ แล้วจัดประชุมคล้ายเหมือนจะเป็น สมัชชา คงจะได้จัดประชุมที่จุฬาฯ คล้าย ๆ ค่อย ๆ แสดงพลังค่อย ๆ เคลื่อนไหวคัดค้านต่อต้าน จะไม่ชุมนุมอย่างผลีผลามเพราะว่าจะเข้าล็อคของสถานการณ์ ก็สุดท้ายที่ศูนย์นิสิต นักศึกษาก็จัดชุมนุมกันที่จุฬาฯ หลังจากที่พนักงานการไฟฟ้าภูมิภาค จ. นครปฐมถูกฆ่าแขวนคอ แล้ว ผมอาจเป็นคนแรก ๆ ทีได้ภาพ  เพราะเหตุว่ามีผู้ปฎิบัติงานพรรคเป็น จ.นครปฐม แล้วก็ตามที่บอกผมเข้าใกล้ชิดสนิทสนมกับร้านถ่ายรูป แล้วก็เข้าไปดู ดูปั๊บแกก็เอาภาพมาหน้าที่ทำการพรรคสังคมนิยม ว่าเขาฆ่าแขวนคอ ตอนนั้นยังไม่เป็นข่าว ตอนนั้นก็เริ่มจัดการส่งข่าว ภาพที่นี่

อ. ชลธิชา :         อาจารย์พอจะระบุชื่อคนผู้นั้นได้มั้ย   ที่ว่าเป็นผู้ปฎิบัติงานพรรคที่เป็นคนให้ข่าวเรื่องรูปนี้แก่อาจารย์

อ. จรัล :               คุณสุมิตรนี่ไงนะ ซึ่งตอนหลังแกสมัครผู้แทน ส.ส. พรรคนั้นพรรคนี้ คุณสุมิตร  ลักชนะพงศ์ หน้าที่ทำการพรรค

อ. ชลธิชา :         สุมิตร………. สะกดอย่างไร

อ. จรัล :               สุมิตร  ลักชนะพงศ์ …  ผมมีนามบัตรแต่ต้องไปค้น เพราะตอนหลังแกก็สมัครผู้แทนพรรคโน้น พรรคนี้ แกสมัครมาหลายแต่แกไม่ได้สักครั้งนึง แกเอาให้ดูแล้วบอกว่าเจ้าของร้านถ่ายรูปแกเดินผ่านไป เขาเปิดประตูให้แกไปดูแกขอมาแล้วหลังจากนั้นข่าวและสถานะการณ์เผยแพร่ก็เป็นข่าวที่ค่อนข้างดังคล้ายเป็นข่าวร้ายดังนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาก็จัดชุมนุมครั้งแรกที่หน้าตึกจักรพงษ์ หน้าที่ทำการโครงการนิสิตจุฬาฯ ตึกจักรพงษ์คล้ายว่ามาจัดที่จุฬาฯ ก็เพราะว่า มันจะดีกว่าจัดที่ธรรมศาสตร์ ที่สนามหลวง ภาพมัน แล้วก็ที่อะไรต่าง ๆ ก็จัด คือ เวลานั้นถ้าไม่จัดบ้างก็มีปัญหา ดูเหมือนว่าจะจัดวันที่ 24, 25 กันยานี่แหละ แล้วก็พอแล้วจากนั้นคนก็มามากพอสมควร แล้วก็ตอนติดโปสเตอร์จัด ติดโปสเตอร์ชวนเชิญ ติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม ก็เริ่มชูคำขวัญว่า “คัดค้านการฟื้น คัดค้านรัฐประหาร ฟื้นอำนาจเผด็จการทำนองนี่” แล้วก็คนที่ไปติดโปสเตอร์ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 21-22 เท่าที่ผมจำได้ 21-22-23 กันยา จนถึงจับในขณะนั้นพวกที่ไปติดโปสเตอร์ก็จะถูกทำร้าย ถูกไล่ทุบ ไล่ตี ไล่เตะ มีบางที่ใช้ปืนยิงขู่

อ.ใจ :                    ขอถามคำถามว่าที่อาจารย์บอกว่าคำขวัญของนิสิตนักศึกษาคือ “คัดค้านการทำรัฐประหารและเผด็จการ” การคัดค้านการทำรัฐประหาร หมายความว่านิสิตคิดว่าจะมีการทำรัฐประหารใช่มั้ยฮะ

อ.จรัล :                 คือทั้งได้ข้อมูล ทั้งวิเคราะห์ว่ามีใช้กรมทหารมาจากกรมทหารแล้วก็มาจาก..เค้ามีการเตรียมการเท่าที่ได้ข้อมูลก็มีการเตรียมการกัน เพราะฉะนั่นการต่อต้านการกลับเข้ามาของจอมพลถนอมในช่วงหลัง ๆ นี้ มันก็มีเป้าหมายที่การต่อต้านความพยายาม ต่อต้านแผนรัฐประหารเพื่อฟื้นเผด็จการ และวันที่ 24 พอหลังจากประชุมที่จุฬาฯ วันที่ 25 กันยา แล้วทางศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาและทางหลายกลุ่ม คิดว่าจะต้องจัดชุมนุม ชุมนุมใหญ่ทดลองอีกครั้ง ชุมนุมใหญ่ดูเหมือนว่าจะวันที่ 29 กันยา คง 29, 30 นะ เพราะว่าผมตอนนั้นไปช่วยเขียนบทนำให้หนังสือพิมพ์อธิปัตย์ เป็นหนังสือของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ผมก็จำผมเขียนบทนำ คล้ายเรียกร้องให้คนมาชุมนุม อธิบายเหตุผลที่เรียกร้องให้คนมาชุมนุมเพราะว่าในต่างจังหวัด มันมีการชุมนุมอยู่บ้างแล้วที่สงขลา ที่พิษณุโลก ที่ขอนแก่น ที่เชียงใหม่ ที่ไหนที่มีมหาวิทยาลัย มีการชุมนุมอยู่เพราะฉะนั้นที่กรุงเทพฯ ถ้าไม่มีการชุมนุมใหญ่ มันก็จะทำให้พลังการต่อต้านจะไม่สูงขึ้น จะไม่มากเพิ่มขึ้น คนก็มามากพอสมควรในวันที่ 23  ชุมนุมวันเดียว ตอนนั้นก็กลัวเหมือนกันว่า จะมีคนมาสร้างสถานการณ์ ทางผู้จัดชุมนุมโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา เขาก็จัดการรักษาความปลอดภัยค่อนข้างดี ก็ดูเหมือนมีคนเอางูมาปล่อย แต่ไม่ใช่งูพิษ เท่าที่ผมจำได้ แต่หนังสือพิมพ์คงลงนะ ที่วันที่ 29 ซึ่งหลังจากนั้น การอภิปรายกันว่า จะชุมนุมใหญ่หรือไม่ชุมนุมใหญ่ เพราะว่าสถานการณ์การเมืองก็ตึงเครียดเนื่องจากว่า นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ลาออกกลางสภา เพราะว่าถูก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคนของพรรค นายวีระ มุสิกพงษ์ ตั้งกระทูถามเรื่องที่จอมพลถนอมกลับเข้ามา เป็นไง และใช้คำแรง ๆ ไปด่า ไปว่า อาจารย์เสนีย์ ก็ลาออก เสียใจ น้อยใจ ลาออกกลางสภา แล้วก็ตั้งรัฐบาลกันใหม่ ตั้งรัฐบาลกันใหม่ ซึ่งเวลานั้นทุกฝ่าย ฝ่ายเรา ฝ่ายขบวนการนักศึกษา ประชาชน พยายามที่จะวิ่งเต้น พยายามไปคุยกับผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ว่า เวลาในการตั้งรัฐบาลนี่ อย่าเอาพรรคชาติไทยเข้ามา อย่าให้คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะว่า คุณสมัครนี่เป็นไม้เบื่อไม้เมา กับขบวนการนักศึกษา ประชาชน เพราะว่าคุณสมัครมักจะออกมาให้สัมภาษณ์ ในทางวิพากษ์วิจารณ์ ด่า หรืออะไร ขบวนการนักศึกษา เท่าที่เรารู้เขาก็พยายามที่จะให้รัฐบาลมาจัดตั้ง มาริดรอน สิทธิเสรีภาพ ประชาชน ในการเคลื่อนไหว ปรากฏว่า พอ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกอีกครั้งเพราะว่า ประชาธิปัตย์ได้รับเสียงข้างมาก สมัยนั้นเขายกมือเป็นรัฐมนตรีเขายกมือ ได้เป็นก็แต่งตั้งตั้งรัฐมนตรี ทีแรกเท่าที่ได้ข่าวมา ท่านไปคุยกับพวกผู้นำพรรคประชาธิปปัตย์หลายฝาย ก็จะมีวีระ มุสิกพงษ์ พี่สุรินทร์ มาศดิตถ์ แล้วก็อาจารย์ดำรง รัตนิทัศน์

คำถาม                    แล้วฝ่ายเราเองใครเป็นคนไปติดต่อครับ

อ.จรัล                      ฝ่ายเราพูดยากว่าใครเป็นคนไปติดต่อ เพราะแล้วแต่ใครจะมีช่อง มีช่อง มีเงื่อนไขอย่างที่ผมเล่า วันที่ 19 ที่จอมพลถนอมกลับเข้ามา ผมมี ดร.พิชัย พันธเสน ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นอาจารย์อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ เขาก็มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับประชาธิปปัตย์ ก็ชวนกันไป บ้านอาจารย์เจริญ คันธวงศ์ ซึ่งตอนนั้นแกเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ผมรู้ ๆ มาบ้าง ดร.อภิชัย ก็ติดต่อ คือจะมีคนติดต่อกับอาจารย์ดำรง รัตนพิพัฒน์ แต่จะมีหลายคนหลายส่วน ที่ผม ผมติดต่อบ้าง คุยกับวีระบ้าง แต่ว่ามันไม่ได้มีผลอะไรมาก แล้วตอนที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีก็ปรากฏว่า ตั้งพรรคชาติไทยด้วย โดยตอนที่ทำคล้ายกับว่า ตอนนั้นมีคนมาเล่าให้พวกเราผังว่า นำรายชื่อไปไม่มี แต่ว่าสุดท้ายก็ต้องมี ตอนนั้นมีการทำข้อมูลใหม่ รุ่งเช้าข่าวการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช(2) ในข่าวนี้ก็จะมีเรื่องข้อมูลใหม่ ก็คือให้พรรคชาติไทยเข้าร่วมรัฐบาลด้วย พรรคชาติไทยคือคนไม่อยากให้เป็น แล้วก็คนในพรรคประชาธิปปัตย์ส่วนหนึ่งก็ไม่อยากให้เป็น เพราะเวลานั้นถือว่า เป็นพรรคขวา พรรคฝ่ายขวา พรรคที่รู้คำขวัญ “กฎหมู่ อยู่เหนือ กฎหมาย” ชูชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อะไรอย่างนี้ เป็นฝ่ายขวา แล้วคอยขัดขวาง คอยดึงแข้ง ดึงขารัฐบาล ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน หรือคอยอะไรนานา ที่นี้หมายถึงว่า สถานการณ์การเมืองตึงเครียดมากขึ้น เมื่อมีพรรคชาติไทยกลับเข้าไปเป็นรัฐบาลอีก แต่ว่าคุณสมัครไม่ได้เป็น ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มฝ่ายขวาที่เรียกร้องว่า ตั้งครม.ไม่ให้ใครเป็นบ้าง ไม่ให้ชวน หลีกภัยเป็น ไม่ให้ดำรง เป็น สุรินทร์ มาศดิตย์เป็น ปรากฏว่า สามคนนี้ได้เป็น คนที่เขาเรียกร้องให้เป็น ไม่ได้เป็น

คำถาม (ผู้หญิง) :  ตอนนี้พลเอกประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรคใช่มั้ยคะ

อ.จรัล :                    ครับ

คำถาม :                  อยากทราบว่าบทบาทของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในช่วงนั้นเป็นอย่างไรมั่งคะ

อ.จรัล :                   พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ช่วงนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วย เป็นรัฐมนตรีผมจำไม่ได้ครับ ว่าเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ หรือเป็นรัฐมนตรี ไม่ได้ข่าว หมายถึงว่าที่ผมรู้เห็นนะ ไม่ได้รู้เห็นว่าพลเอกชาติชาย เขาทำอะไรบ้าง แต่ว่ามันก็เป็นข่าวอยู่ “หัวหน้าพรรคชาติไทย พลตรีประมาณ อดิเรกสาร พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ หรือกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ เคลื่อนไหวอะไร ทำอะไร แต่ว่าเราไม่ได้รู้เห็นด้วยตัวเอง”

คำถาม :                 ประทานโทษครับ  ใครเป็นคนที่เอาข่าวมาบอกว่า พรรคชาติไทย จะไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาลในตอนแรกครับ

อ.จรัล :                    จำไม่ได้แต่ว่า คือในเวลานั้นพวกเราก็ตั้งหน่วยหาข่าวกันเยอะเลย มันก็มีข่าวมาบอกว่า คล้าย ๆ กับเหมือนว่า พวกที่ไปคุยกับบรรดาผู้นำพรรคประชาธิปปัตย์เขาบอกมาว่า จะไม่เอาพรรคชาติไทยเข้าร่วมเป็นรัฐบาล จะพยายามไม่เอาทำนองนี้ เราก็คิดว่า เราก็เชื่อว่ามันน่าจะจริง แต่ในที่สุดก็เอาเข้า แล้วก็มีคำว่า “ข้อมูลใหม่” ซึ่งเป็นคำที่ดังมากในช่วงหลังจัดตั้ง ครม. ในครั้งที่สอง “ข้อมูลใหม่” จะเป็นข่าวที่ดัง ตกลงก็จะชุมนุมกันอีก ซึ่งเท่าที่ผมรู้ แล้วก็ช่วยออกความเห็นด้วย คือ จะชุมนุมหรือไม่ชุมนุม ก็ถกเถียงอภิปรายกันหลายหน ในส่วนใหญ่ก็มีมติให้ชุมนุมวันที่.. ชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 4 ชุมนุมสนามหลวง แล้วก็ข้างธรรมศาสตร์

คำถาม :                   ที่บอกว่ามีมติให้ชุมนุมองค์ประกอบของผู้เข้าประชุมประกอบด้วยองค์ประกอบ    อะไรบ้างถึงมีมติร่วมกันได้

อ.จรัล :                     คือเวลานั้นขบวนการนักศึกษาประชาชนก็ตั้งเหมือนกับคณะนำ คือ ตั้งองค์การนำขึ้นมา คือมันมี 2 องค์การ องค์การหนึ่งคือ องค์การที่เปิดเผย ก็คือศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย แต่ก็จะศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาจากกลุ่มนี้ไปตั้งกันร่วมเป็นองค์การไปตั้งเป็นคณะบุคคลขึ้นมาตั้งเยอะ พวกสีม่วง สีอะไร พวกนี้ มันแล้วองค์การพวกนี้นะ แต่ผมไม่ได้เข้าไปเกี่ยวแต่มันจะคนที่ที่ทำงานอยู่กับผมเข้าไปประชุมอยู่ 3-4 คน ก็ประชุมก็ต้องอภิปรายกันว่า จะอย่างไร จะชุมนุมหรือไม่ชุมนุม ตอนนั้นแนวโน้ม ส่วนใหญ่เห็นว่าต้องชุมนุม แล้วก็ต้องชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ เพราะว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์และถ้าไม่ชุมนุมแล้วมันจะรรักษากระแสที่ต่างจังหวัดไม่ได้ เพราะถ้าไม่ชุมนุมแล้วแผนคือตอนนี้แผนการทำรัฐประหารคล้าย ๆ มันจะเข้าสู่ มันจะเริ่มปฎิบัติ กลัวว่าเขาจะปฎิบัติกัน เพราะฉะนั้นเวลานั้นก็เดียวกัน เพราะก่อนหน้านั้น ก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายเดือนก็เดียวกัน เดียวกันทั้งในที่ประชุมรวมทั้งเปิดเผยในหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ อย่างนี้ เรียกว่าจะต้องต่อต้านรัฐประหารกันอย่างไร นี่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน เรื่องมันก็กลายเป็น 2 แนว คือ แนวหนึ่งต่อต้านจนถึงที่สุด อีกแนวหนึ่งบอกว่าถ้ารัฐประหารแล้วก็เปลี่ยนการต่อต้านรัฐประหาร ไปเป็น สงครามประชาชน คือพูดง่าย ๆ ว่าลงใต้ดินแล้วก็เข้าป่ากันไม่กระทำ ต่อต้านรัฐประหารจนถึงที่สุด ในเรื่องการวิเคราะห์เรื่องความคิดที่ว่าจะมีรัฐประหาร หรือการวิเคราะห์ว่าจะมีรัฐประหารจะมีมาตลอด 4-5 เดือน ตั้งแต่ มกราคมมาเรื่อย ๆ พอช่วงนี้ยิ่งจอมพลประภาสเข้ามา เดือนสิงหาคมแล้วจอมพลถนอมเข้ามาข้อมูลหรือการวิเคราะห์เรื่องรัฐประหารมันจะเป็นจุดยืนมันจะเป็นหลักของพวกเรานะ เพราะฉะนั้นแล้วหลังจากชุมนุมวันที่ 29 ก็มีการคุยกันและถกเถียงกันมากเรื่องชุมนุมวันที่ 4 ตุลาคม ใหญ่ที่สนามหลวง และที่ข้างธรรมศาสตร์ และปรากฎว่าน่าจะอยู่ที่สนามหลวงเพราะสนามหลวงนั้นต่ำ คือ ที่ธรรมศาสตร์จะมีข้อดีอย่างนั้น ข้อดีอย่างนี้ มีห้องน้ำห้องท่า มีตึก แต่จะถูกล้อมเพราะว่าตอนที่กลับเข้ามาอยู่ในธรรมศาสตร์ 2 วัน อยู่ในสภาพที่ถูกปิดล้อมได้ง่าย แต่ถ้าที่สนามหลวง …… ถกเถียงงันมากและส่วนใหญ่……… ธรรมศาสตร์

คำถาม :                    เหตุผลที่ฝ่ายที่บอกว่าการเข้าธรรมศาสตร์ชนะเพราะอะไร ในเมื่อก่อนหน้านั้นก็คล้าย ๆ 2 คนมีร่องรอยการถูกปิดล้อม ถูกทำลายได้ง่าย

อ.จรัล :                     ชนะก็เพราะว่าเขาคิดว่าธรรมศาสตร์เป็นจุดยุทธศาสตร์และมีสถานะทางการเมือง การต่อสู้ และทีสำคัญ คือ มีตึกมีที่พักพิง การป้องกัน การก่อกวน การปราบปราม จะดีกว่าอยู่ที่สนามหลวง แต่เสียงความคิดเห็นที่ว่าไม่ให้มีการชุมนุมมีน้อยมาก….. ( ไม่ชัด )

คำถาม:                     ทำไมถึงว่าประชุมยืดเย้อเพราะประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก ทำไมการชุมนุมในวันที่ 4 จังเปลี่ยนเป็นการชุมนุมที่ยืดเย้อ

อ.จรัล :                    คือ ผมอยู่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมยืดเย้อ คิดว่าชุมนุมวันที่ 4 ก็พอแล้ว กลางคืนก็สลาย ส่วนใหญ่ แต่ว่าส่วนใหญ่ข้ามไปประชุมที่ธรรมศาสตร์ เพราะว่าดูสภาพการณ์แล้วถ้าไม่ชุมนุมยืดเย้อแล้วจะไม่สามารถต่อต้านความพยายามที่จะทำรัฐประหาร การชุมุนุมยืดเย้อนี่ยังจะเป็นเงื่อนไข ยิ่งเป็นสถานการณ์ที่เขาอะไรได้

คำถาม :                   ฝ่ายไหนที่ยืนกรานที่จะชุมนุมยืดเย้อ แล้วก็เข้าธรรมศาสตร์พอจะรื้อฟื้นความจำได้มั้ยว่า ใครบ้างงหรือองค์กรใดบ้าง แล้วก็ฝ่ายไหน หรือ หรือองค์กรใดบ้างที่เห็นว่าไม่ควรยืดเย้อ แล้วก็ไม่ควรเข้าธรรมศาสตร์

อ. จรัล :                     รื้อฟื้นอาจยากหน่อย แต่วาที่เขาหระชุมหน่วย ๆ องค์กรนำก็จะมี ตัวแทนนายก ตัวแทนนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เวลานั้นก็ ดร.ธงชัย   วินิจจะกูล ตัวแทน

คำถาม :                     อันนี้ฝ่ายไหนคะ

อ.จรัล  :                     รามคำแหงก็มี เอก ชนพล ที่พวกนักศึกษา แต่พวกที่ไม่ใช่นักศึกษาที่เข้าไปร่วมเป็นประจำก็มี ดร. เทียนชัย  วงศ์ชัยสุวรรณ มี บุญธรรม วนชัย เข้าในนามแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

คำถาม :                      เทียนชัย เข้าในนามอะไร

อ.จรัล :                       ศูนย์ประสานงานกรรมกร แล้วก็เกษตรที่เนื่องจากผมไม่ได้เข้าไปร่วมแต่จะรู้ว่าเขาประชุมกันช่วงไหนที่ไหน เวลาไหน และหลังจากประชุมก็จะรู้ว่าเขามีมติกันอย่างไร แต่ก็มีเยอะนะ

คำถาม :                      ถ้าจะสรุปคำขวัญของการประท้วงในวันที่ 4 คำขวัญคืออะไร

อ.จรัล :                       คำขวัญก็ ต่อต้านรัฐประหารหรือเผด็จการ เพราะจะเป็นลักษณะที่จะมาฟื้นเผด็จการ ซึงความจริงก่อนหน้านั้นนะมีคน ซึ่งตอนหลังก็มาเป็นผู้นำสหภาพแรงงานเขาเอาเอกสารที่เขียนเป็นเอกสารของกลุ่ม ( หินบ่อ ) พวกเขาเหล่านั้นเป็นนักเรียนอาชีวะ มี 3-4 คน จำชื่อไม่ได้ ตอนหลังมาเป็นผู้นำสหภาพแรงงานการไฟฟ้า การประปา เอาเอกสารมาให้ดู ที่นี่ก็วิเคราะห์ซึ่งทำให้น่าคิด วิเคราะห์เข้ามาครั้งนี้มีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้คล้าย ๆ กับเป็นการเตือนว่าพึงระวังว่าจะพวกเราเห็นด้วยกับการประชุม แต่ต้องระมัดระวังไม่ผลีผลาม ต้องไม่ชุมนุมยืดเย้อ นี่ความคิดผมนะ แต่ถ้าไม่ชุมนุมเลยคงไม่ได้เพราะเราไม่รู้ว่าเขาจะปราบ คือเขาอาจทำรัฐประหาร คือเมื่อก่อนเราคิดว่าทำรัฐประหารแล้วจะปราบเลย พอทำรัฐประหารแล้วคืนนั้นรุ่งเช้าก็จะกวาดจับเลย เพราะฉะนั้นทำอย่างงไรไม่ให้ทำรัฐประหาร ถ้าไม่ต้องการให้ปราบก็ต้องไม่ทำรัฐประหาร ปรากฎว่าเขาปราบก่อน คือ เมื่อก่อนเถียงกันว่าปราบก่อนถึงจะทำรัฐประหาร หรือรัฐประหาร คือเป็นแนวความคิดในการวิเคราะห์ว่าความคิดผมนั้นผิด คือผมคิดว่ารัฐประหารก่อน แล้วมาปราบ เราคิดจากอดีตจากรัฐประหารแต่ละครั้ง แต่รัฐประหาร 20 ต.ค. 2501 มาเมื่อรัฐประหารแล้วปราบทำอย่างไร คือต่อต้านไม่ให้เกิดถ้าเกิดแล้วต้องไม่ให้เดิน คือต้องหลบกัน อีกส่วนหนึ่งต้องต่อต้าน อีกส่วนหนึ่งต้องหลบเพราะฉะนั้นการชุมนุมในวันที่ 29 หรือวันที่ 4 พวกในขบวนก็จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือส่วนที่เข้าไปอยู่ข้างนอก อยู่ข้างนอกคอยเตรียมว่า ถ้ามีรัฐประหารแล้วจะต่อต้านอย่างไร ถ้าต่อต้านไม่ได้ก็ต้องรบ ต้องหลบภัย ต้องหลบหนีเข้าป่า ก็แบ่งกัน ผมนี้อยู่ฝ่ายไม่เข้า แต่ชุมนุมทุกครั้งก็จะเข้าเพราะชอบการชุมนุม เพราะฉะนั้นวันที่ 4 ผมก็ไป ก่อนไปทุกวันคือ เวลาอ่านหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ย้ายไปอยู่ที่โรงพิมพ์หนองแก้ว ที่ฝั่งธน ออกเป็นรายวันเลย ตอนนั้นออกเป็นรายวันเพราะว่าเราถูกปิดล้อมด้านข่าวสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ส่วนใหญ่ ก็รู้สึกจะเข้าข้าง วิทยุนั้นชมรมวิทยุเสรี 200 สถานี ไม่ออกข่าวพวกเรา เพราะถ้าออกแล้วก็จะออกในทางด่าว่า ประณาม หนังสือพิมพ์ก็เหมือนกัน ก็มีแต่หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย มีหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ที่ออกพวกเราบ้าง เพราะฉะนั้นอธิปัตย์ออกทุกวัน เพราะฉะนั้นทุกเย็น บ่าย ๆ ก็จะไปที่อธิปัตย์ ไปนั่งเขียนบทความ เขียนบทความทุกวัน วันที่ 4 ผมก็มาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วก็ตอนกลางดึก ก็เข้าไปที่ธรรมศาสตร์ ไปอยู่ …….กลับบ้าน พอรุ่งเช้าก็เริ่มหาข่าว เจอใครที่หาข่าวหาข้อมูลได้เอาพูดมาแลกเปลี่ยนกัน วิเคราะห์กัน   เวลานั้นวิเคราะห์รายวันเป็นส่วนของผม เราจะประชุมกันทุกคืน ทุกวัน ทุกคืน วิเคราะห์รายวันว่าใครได้ข้อมูลข่าวสารอะไร ก็คิดว่าเวลานั้น ข้อมูลที่ได้มาคิดว่าเขาคงจะยังไม่ปราบ คงจะไม่ปราบ วันที่ 4 คงจะไม่ปราบ เข้าไปวันที่ 5 แล้วคิดว่ายังคงไม่ปราบ แต่พอตอนบ่าย พอผมไปหาข้าวมาทานแล้วก็ข้ามมาธรรมศาสตร์ไปเจอพวกน้อง ๆ หลายคน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาจากเชียงใหม่ เค้าเล่าให้ฟังว่าเค้านั่งรถบ้านมาที่ตลาดหมอชิต แล้วเขาเห็นคนแจกใบปลิวเริ่มมีใบปลิวว่านักศึกษาผูกคอ มีอามาตมาดร้ายมีภาพแขวนคอองค์รัชทายาทแล้วทุกคนก็คิดแบบนี้ วันนั้นพวกที่อยู่ในชุมนุมคิดว่า คาดว่ามัน 2 วัน เขาคงจะปราบถ้าอย่างนี้แล้วนะ เพราะว่าภาพมันใบปลิวมันแจกเยอะ แล้วข่าวถ้าเราฟังข่าววิทยุยานเกราะ คนเริ่มมาชุมนุมกันประปราย ที่ลานพระรูปทรงม้า เพราะฉะนั้นมีหลายคนที่พอเจอพวกเค้าให้ผมกลับ ไม่ให้อยู่ในที่ชุมนุมให้กลับบ้าน เพราะถูกปราบแน่ เพราะถูกปราบแล้วก็อาจจะเป็นอะไร

คำถาม :                      คนที่ชุมนุมที่พระบรมรูปทรงม้านี่คือใคร

อ.จรัล :                       ก็เป็นกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน

คำถาม :                     รู้ได้อย่างไรว่าเป็นลูกเสือชาวบ้าน

อ.จรัล  :                      คนที่ไปเห็นมาบอกว่ามีผ้าผูกคอพระราชทาน ตั้งแต่ 4-5 โมงเย็นเริ่มมีการชุมนุมกันประปราย ผมไปถึงธรรมศาสตร์ประมาณ 5 โมงเย็นกว่า ๆ พอทุ่ม – สองทุ่มเราก็ฟังวิทยุยานเกราะได้ข่าวชัดเจนขึ้น คนมากขึ้นเรื่อย ๆ เวลาเค้าพูดเหมือนคนมามาก ผมก็อยู่ในนั้นไม่กล้าออกมาอยู่ที่นั่นจนถึงแล้วสถานการณ์ตึงเครียด แล้วก็คิดว่าข่าวที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามพาดหัวมันทำให้เกิดอาการเร็ว หมายความว่าทำให้คนฝ่ายเค้าตระเตรียมจะปราบปรามนักศึกษา ประชาชน มันทำอะไรเร็วขึ้น เราคิดว่า วันสองวันคงไม่กล้า เพราะรัฐบาลหม่อมเสนีย์ ปราโมช ก็เพิ่งได้รับคล้ายว่าเพิ่งเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งสมัย ( 2 ) บริหารประเทศซึ่งทางรัฐบาลก็คงจะคอยดูเราก็คิดว่าอย่างนั้น คอยดูแลคอยกำกับไม่ให้สถานการณ์ตึงเครียด พวกนั้นจำนะไม่เหิมเกริม แต่ว่าก็เหมือนกับ คิดผิดเราก็เชื่อว่า ทางรัฐบาลยังมีอำนาจ นี่เอกสารเขียนเลยว่ารัฐบาลอยู่ในสภาวะทีมีแต่อำนาจ ประชาธิปัตย์ยังมีอำนาจเราคิดวายังมีอำนาจอยู่บ้าง คอยนั่น คอยดู

คำถาม :                       แล้วใครมีอำนาจ ที่วิเคราะห์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีอำนาจแล้วใครมีอำนาจ

อ.จรัล :                        ทหาร

คำถาม :                      ใครมีอำนาจหมายถึงพรรคการเมืองไหน มีอำนาจ ส่วนไหนของชาติมีอำนาจ ควบคุมสถานการณ์ในช่วงนั้น

อ.จรัล :                        กองทัพคนในกองทัพผู้นำกองทัพมีอำนาจแล้วก็โดยมีพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลคอยเป็นส่งไฟเขียว คอยให้ท้ายอะไรต่าง ๆ ทีนี้ที่ผมจำได้ สมสี่ทุ่ม  สามทุ่มกว่า ๆ กลุ่มที่เป็นแกนนำก็เริ่มประชุมกัน เพราะว่าคนที่เราไปเป็นแกนนำคล้าย ๆ เจอกันคุยกัน แล้วบอกว่าเดี๋ยวมีการประชุม แล้วแนวโน้มของการประชุมก็คงจะออกมาในทางให้ยุติการชุมนุม ยุติ แต่ว่าตอนนั้นก็มีสองในที่ประชุมว่า ยุติกันตอนไหน ตอนเช้าหรือตอนคืนนี้ แล้วก็จะมีปัญหาเรื่องของ…… (ไม่ชัด) ก็ต้องยุติตอนเช้าก็ต้องประชุมก็คุยกันยืดเย้อยาวนานมาก ก็ไม่รู้ว่ามีมติอย่างไรจนถึงเที่ยงคืน จนถึงตีหนึ่งก็รู้ว่าจะสลาย จะยุติการชุมนุมตอนเช้าซึ่งมันก็สายไป สายไปเพราะคนที่ออกมาที่ประชุมมาบอกว่าจะสลายให้ยุติการประชุม แต่ว่าสถานการณ์ข้างนอกมันไม่เอื้ออำนวยแล้วมันเหมือนจะช้าไปแล้ว เพราะข้างนอกนี่คนมันอยู่เต็มแล้ว ผมอยู่ที่ธรรมศาสตร์พอผมเดินออกไปหน้าหอประชุมไปดูสถานการณ์แล้วก็ฟังวิทยุมีน้องที่เค้ามีวิทยุ ฟังวิทยุ ภูมิธรรม เจอบ่อย ฟังวิทยุอยู่ ชูศิลป์, วนา ก็เจอกันคุย ก็ฟังวิทยุวิเคราะห็กันว่าจะเอาอย่งไรในที่ประชุมจะยุติการประชุมกันตอนเช้า

คำถาม:                        ที่บอกว่าข้างนอกธรรมศาสตร์มีคนเต็มคนเหล่านั้นเป็นใคร

อ. จรัล :                       คนเหล่านั้นคือนะ

คำถาม :                       ครับ เป็นคนจากกลุ่มไหนหรือเป็นประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา

อ.จรัล :                        อ๋อไม่ใช่ประชาชนทั่วไปเป็นกลุ่มที่ถึงแม้เราไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่เราเห็นปุ๊บก็รู้ว่าเป็นกลุ่มไหน ก็คือกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กลู่มกระทิงแดง ซึ่งเป็นนักศึกษาอาชีวะซึ่งจริงแล้วเราเรียกกลุ่มขวา กลุ่มขวาจัด เพราะฟังจากดูด้วยตา อยู่กันเต็มเลยนะ แล้วก็ฟังจากวิทยุยานเกราะ วิทยุยานเกราะก็เริ่มกระจายเสียงที่ไม่ใช่เป็นการจัดรายการแต่เป็นเหมือนกับการสั่งการ เป็นการสั่งการและก็ ประสาน สลับกับการพูด แล้วสั่งให้กลุ่มนั้น ทำนั่น ทำนี่ แล้วก็ตอนที่ตำรวจตระเวนชายแดน เข้าพิพิธภัณฑ์พวกเราก็อยู่ในธรรมศาสตร์ ก็เห็นการเคลื่อนไหว ก็มีคนนั้นแล้วบอกว่ามีตำรวจเข้าไปแล้ว สามารถมองเห็นตำรวจเข้าไปที่พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติ อยู่ติดกับธรรมศาสตร์ ตรงข้ามกับหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ แล้ววิทยุยานเกราะก็พูด คล้าย ๆ กับพูดเหมือนสั่งนะ สั่งให้ตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปอยู่แต่คงไม่สังว่าให้เข้าไปอยู่ตรงไหน คล้ายกับว่ามันเป็นรายงานข่าวแบบสั่งการ สถานการณ์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยเฉพาะที่หน้าหอประชุมตึงเครียดมากแล้ว

คำถาม:                         หมายถึงตอนเช้า วันที่ 6 แล้ว

อ.จรัล :                         ยังประมาณ  ตีหนึ่ง  ตีสอง  ตีสาม ช่วงประมาณตีสองเริ่มตึงเครียดแล้วที่นี้จะกลับก็กลับไม่ได้

คำถาม:                         ที่บอกว่าให้เหตุผลอยู่ 2 ประการ ที่เชื่อว่า คนภายนอกคือผู้ พวกขวาจัด คือ ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นักศึกษาอาชีวะ สาเหตุที่เชื่อก็เพราะว่าฟังวิทยุยานเกราะ อีกสาเหตุหนึ่งก็เพราะดูด้วยตาแล้วเห็นพวกนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเค้า คือ สามารถแยกออกจาก นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนธรรมดา อย่างช่วยอธิบายเพิ่มเติมว่าทำไมดูออกว่าเป็นพวกฝ่ายขวา

อ.จรัล :                          ทำไมดูออกว่าเป็นฝ่ายขวา ? คือตอนนั้นมันค่ำแต่ดูสภาพการเคลื่อนไหวเขาจะอยู่ในกลุ่มและการแต่งเนื้อแต่งตัวแบบไม่ใช่นักศึกษาที่อยู๋ในธรรมศาสตร์ เค้าอยู่เป็นกลุ่ม ๆ แล้วก็จะมีการเคลื่อนไหว คล้ายวิ่งไปวิ่งมา บางส่วนก็เริ่มปาของมา ตึง ตัง แล้วก็จะมีเสียงถึงแล้ว เสียงดังเราก็ออกไป ได้ยินบางคนบอกเจอน้อง ๆ บอกอาจารย์ ไม่ใช่อาจารย์ บอกพี่จรัล อย่าออกไป ผมจะไปดูสถานการณ์หน่อย มันจะเริ่มตึงตัง ตึงตัง แต่ไม่ใช่เสียงปืนนะ แต่เป็นเสียงปา มันจะปาเข้ามา

คำถาม   ;                      เห็นผ้าพันคอของกลุ่มลูกเสือชาวบ้านมั้ย

อ.จรัล :                         เห็น

คำถาม:                         แล้วมีการร้องเพลงอภิปรายอะไรข้างนอก

อ.จรัล :                         ไม่มีมันก็มีเสียงดัง เสียงการเคลื่อนไหวดัง โห่ มีการปา แต่ว่าก็ฟังวิทยุยานเกราะเป็นหลัก เพื่อฟังข่าว ตอนถึงตี่สี่กว่า ๆ พอถึงตีสี่กว่านี้ ก็เสียงปืน ได้ยินเสียงระเบิด เสียง .. คือทีแรกผมคิดว่าเป็นเสียงระเบิดว่ามีคนปาเข้ามาลงกลางสนาม ตอนนั้นผม ยืนอยู่ของสนาม เยื้องกัน อยู่หน้าตึกคณะ นิติศาสตร์ อ้อ พอได้ยินเสียงระเบิด ดังปั๊บหันกลับไปดูมันคล้ายระเบิดลงกลางที่สนามก็สงสัยว่าเขายิงเข้ามา หรือใครปาเข้ามา ก็ตึง ในสนามก็มีการแตกตื่นวุ่นวายแตกตื่นบนเวทีก็พยายามให้สงบ ให้อย่ากลัว ให้สงบ ให้เป็นระเบียบแล้วก็ให้หามคนบาดเจ็บไปรักษาอะไรต่าง ๆ ผมไอ้ตอนนั้นว่าเป็นระเบิดขว้าง หรือว่าเค้ายิงระเบิดเข้ามา ตีสี่กว่า ๆ แล้ว แล้วก็เงียบไป แล้วก็ผมก็มองเค้าก็หามคนบาดเจ็บไปทางตึกบัญชีก็คงจะเข้าไปทางนั้น คงจะพาไปศิริราช ตีสี่กว่า ๆ เท่าที่จำได้นะตีสี่กว่า ๆ แล้วก็มันก็ตึงเครียดแล้ว ยิ่งตึงเครียดใหญ่เพราะว่าเริ่ม เค้าเริ่มปฏิบัติการแล้ว แต่ผมดูแล้วก็คงไม่มีใครออกพวกเราคงไม่ไมมีใครออกจากมหาวิทยาลัยได้แล้ว มันดูในสภาพที่ปิดแล้วประตูก็ปิด

คำถาม:                        ที่ว่าตำรวจ ตชด. เข้ามาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เข้าตอนไหน

อ.จรัล :                        ตีสี่กว่า ๆ คือเวลานั้นเราไม่รู้ว่าเป็นตำรวจตระเวนชายแดน หรือไม่ แต่คนเห็นว่าเป็นตำรวจ เพราะว่าเครื่องแบบตอนกลางคืนมันก็ แต่ว่าพอฟังวิทยุยานเกราะ ก็ชัดว่าเป็นตำรวจตระเวนชายแดน ไม่ใช่ตำรวจนครบาล

คำถาม :                       ตามคิวของการสืบพยาน อ.จรัล จะเหลือเวลา อีก 5 นาที เท่านั้นเข้าใจว่าจะไปอะไรอีกเยอะ จะนัดต่อวันหลังได้มั้ยคะ

อ.จรัล :                        อีก 5 นาที ผมจะพยายามรวบรัดให้เสร็จ

คำถาม:                        อีก 5 นาที อยากจะพูดอะไรมากที่สุด

อ.จรัล :                        ผมก็อยู่ที่นั่นจนกระทั่งตี 5 กว่า ๆ อยู่ในจุดเดิมที่มุมสนามฟุตบอลในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ตรงกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก็ที่ วนาที่ยืนคุย ยืนดูสถานการณ์ เสร็จแล้ว พอเสียงปืนดัง พอเสียงปืนดังดังชุดแรกพวกเราก็หลบกัน ก็นอนอยู่กับพื้น ชูศิลป์ก็อยู่หลังผม อยู่บนสนามเสียงปืนก็ดังสนั่นหวั่นไหว ยิงมาจาก ถ้าดูวิถีกระสุนแล้ว เสียงกระสุนมาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เป็นหลัก มากมายไม่รู้กี่พันนัดเฉี่ยวหัวผมไป ชูศิลป์ซึ่งเป็นผู้นำนักศึกษารามคำแหงพรรคสัจธรรม ก็นอนหลบอยู่ข้างบนหลบนอนหมอบอยู่กับพื้นสนาม ผมกลับไปก่อนไปพิมพ์ดีดผมหมอบอยู่ทีสนามฟุตบอลสนามหญ้าเสร็จแล้วก็พักหนึ่ง ถูกยิงมาพักหนึ่ง ชูศิลป์ก็บอกว่าผมไปแล้วพี่จรัล ชูศิลป์เขาคงผลักตัวหลบหนีไปได้ ผมก็อยู่ไม่ได้ ผมยังหมอบยังวิ่งหนีไม่ไก้ ผมอยู่ในจุดที่ลำบากหน่อย แล้วก็มีกลุ่มคนที่ อยู่ที่บันใดตึกคณะนิติศาสตร์ อยู่กันเต็มก็เริ่มได้ยินเสียงคนกลุ่มนี้ ทีแรกผมคิดว่าเป็นพวกเรา เป็นพวกชุมนุม ก็มีเสียงคนในกลุ่มนี้ตะโกนออกไปข้างนอกตะโกนดัง ๆ ว่า “เข้ามา บุกเข้ามาได้ พวกมันตายหมดแล้ว มันถูกยิง พวกมันตายหมดแล้ว” คือ มันอยู่ตรงหน้าผมพอดีเลย ผมคิดว่าอาจเป็นพวกเราที่ทำตัวเพื่อให้รอดหรือจะเป็นพวกนั้นจริง ๆ ที่แทรกเข้ามาอยู่ในกลุ่ม ตะโกนผมหมอบอยู่นานจนกระทั่งพอเสียงปืนเพลาแล้ว ผมจะกลับอยู่ก็มีรถเมล์ขาวเข้ามาคันหนึ่ง คือพวกกระทิงแดง พวกลูกเสือชาวบ้าน ใช้รถเมล์ขาวบุกเข้ามา หลังจากยิงไปพักหนึ่งแล้วก็บุกเข้ามา พอพวกเขาเข้ามาเสียงปืนมันก็เพลาลง คือพวกเค้ามีแผนว่าพอพวกนี้บุกเข้าเสียงปืนก็ลดลง ตอนนั้นผมก็ถือโอกาสลุกขึ้นแล้วก็วิ่งหนีไปตามตึกบัญชี ในสนามไม่มีอะไรหรอกแต่มีเสียงพูดบนเวที ธงชัยพูดอ้อนวอน ตำรวจ ให้เลิกยิงให้หยุดยิงพวกเรารักสันติ พวกเรายอม เสียงพูดยังดังตอนออกไป ตอนวิ่งยังได้ยินเสียงอยู่เพราะว่าเวทีมันติดกับตึกโดมทางฝังตึกโมซึ่งวิถีกระสุนจาก ตำรวจตรำเวนชายแดนที่ยิงมาจาก  คิดว่ายิงมาจากพิพิธภัณฑ์ไม่มีแล้วเพราะมันมีตึก นิติฯ บังอยู่

คำถาม:                       วิถีกระสุนของตำรวจตระเวนชายแดนจากทางพิพิธภัณฑ์ จะพอสร้างความชัดเจนว่าอาจารย์พูดว่ากระสุนจากตำรวจตระเวนชายแดน ยิงเข้ามาตอนตีสองแล้วก็ประมาณ ตี 4 ตี 5 มีการยิงปืนยิงมาจากพิพิธภัณฑ์แล้วเมื่อตะกี้อาจารย์บอกว่าเป็นวิถีกระสุนของตำรวจตระเวนชายแดน ยิงเข้ามาจากพิพิธภัณฑ์ถ้าฟังแล้วคงจะเข้าใจว่าผู้ยิงปืนเข้ามาคือตำรวจตระเวนชายแดนยิงจากพิพิธภัณฑ์ถูกมั้ยครับ

อ.จรัล :                       ถูกแน่นอนครับ เพราะมันยิงกันร้อยนัด มันยิงกันหมื่นนัด คือมันกองกำลัง มันไม่ได้ยิงคนเดียว กองกำลังยิงมากมายก่ายกอง ผมได้กลิ่นเลือดก็หันกลับไปดูศพนักศึกษาที่ถูกยิงตายเหมือนของเละ มีกลิ่นก็เลยหันไปดูก็เลยจำหน้าได้ ยังจำได้หน้าจีน ๆ ไม่รู้ว่านักศึกษารามหรือที่ไหน ก็มีคนถูกยิงบาดเจ็บ ตาย เพื่อนผมก็ตายไปคนหนึ่งนอกนั้นก็บาดเจ็บ

คำถาม :                      แล้วคิดว่าอาวุธที่ใช้นี่ประเภทไหน

อ.จรัล :                       คงเป็นปืนกลเพราะยิงกันสนั่นหวั่นไหวมาก ยิงอยู่ยาวนานเกือบ 30-40 นาที ยิงอย่างหนักจนกระทั่งพอทางกลุ่มที่อยู่สนามหลวงก็ดูรถพักเอา รถเมล์ขาวบุกเข้ามา 2 คัน คันแรกบุกเข้ามาเขาก็โดนจับ ผมถึงวิ่งหนีเข้ามาเขาอาจเจอผม ผมยังไม่ได้รับบาดเจ็บ ผมยังไม่ตายเขาอาจกระทืบผมก็ได้ เพราะว่ามีคนที่ยืนอยู่ที่ในตึกคณะ นิติศาสตร์อยู่กลุ่มใหญ่ ตะโกนบอก “บุกเข้ามาเลย บุกเข้ามาเลย” “บุกเข้ามาเลย ตายหมดแล้ว”  ผมคิดว่าพวกที่บุกเข้ามาอาจประหารหรือเล่นงานเราได้ เพราะยังไม่ตาย ผมถึงรีบวิ่งไวฮะ พอเสียงปืนมันเพลา วิ่งขึ้นไปตึกคณะบัญชีผมวิ่งไปแล้วก็ไม่เห็นใครที่คณะบัญชีผมก็ไปหลบที่ ชั้น 1 ชั้น 2 ผมวิ่งไปคณะสังคมแล้วผมก็สั่งให้เขาไปซ่อนอยู่ในนั้น ทีแรกก็ซ่อนอยู่ในเคาเตอร์ชั้นแรก ซึ่งสามารถมองเห็น กลุ่มคนที่บุกเข้ามาที่ธรรมศาสตร์ว่าเป้นพวกไหน มีผ้าพันคอ บุกเข้ามาเยอะเลย แล้วก็ได้ยินเสียงตำรวจตะโกนสั่ง ก็คือตอนนั้นจับแล้ว ก็คล้ายว่าจับคนที่ซ่อนอยู่ที่คณะบัญชี  ก็ได้ยินเสียงตะโกนด่า ตะโกนสั่งแล้วพวกนี้ก็พวกกลุ่มคนที่อยู่ที่สนามหลวง พวกนี้บุกเข้ามาเยอะเลยแล้วก็ร้องเพลงหนักแผ่นดิน ด่า แล้วก็ปืนตึกคณะสังคมขึ้นไปแล้วก็ขนของลงมา ที่เห็นด้วยตาเป็น พัดลมบ้าง โทรศัพท์ บ้าง (ไม่ชัด) เพราะว่าไม่ได้บอกใครว่าหลบอยู่ทีเคาเตอร์ แล้วยังได้ยินเสียง ตำรวจขึ้นไปบนตึกเพื่อจับ ปรากฎว่าเข้าใจว่าไม่มีใครอยู่เพราะว่าตำรวจขึ้นไปสักพักก็ไม่มีการจับใครลงมา

คำถาม :                      ใช้วิธีนี้ได้มั้ยคะคือเราก็พยายามตามคิวที่พักหมาย แต่ว่าเมื่อสิ้นสุดรอบแรกแล้วถ้าเราติดใจส่วนไหนเราจะขอเชิญ อ.จรัล มาอีกสักครั้งหนึ่งถ้าจำเป็นเดี๋ยวจะค่อยนัดหมายต่อ

คำถาม :                      มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งพูดว่านิสิต นักศึกษาและฝ่ายช้ายพยายามสะสมอาวุธในธรรมศาสตร์ เพื่อที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย เวลา อ.จรัลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุม และได้ข่าวชุมนุมของนิสิต นักศึกษา อาจารย์เคยได้ข้อมูลว่านิสิต นักศึกษา พยายามสะสมอาวุธเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในช่วงนั้นที่ธรรมศาสตร์

อ.จรัล :                        คือไม่ได้พบ ไม่เคยเห็นนักศึกษาที่สะสมอาวุธที่มีอยู่บ้าง บางส่วน คืออาวุธประจำตัว ที่ป้องกันตัวเอง เช่น ปืน .38 , 19 ม.ม. ผมเองเข้าไปมีปืน .38  ผมเองก็พก คือเวลานั้นพวกเราส่วนหนึ่งพกแต่ว่าเป็นปืนเพื่อป้องกันตัวเองไม่ใช่ อาวุธสงคราม ไม่ใช่อาวุธสงคราม คนทีพกปืนที่เข้าไปมหาวิทยาลัยธรราศาสตร์แล้วได้เห็น พบเห็นมีอยู่ 4-5 คน เท่านั้น ไม่เคยพบเห็นจากนักศึกษา

คำถาม :                       คือในช่วงนั้นอาจารย์เรียนจบแล้ว

อ.จรัล :                        จบแล้ว สองปี สามปี

คำถาม :                       เข้าทำงานแล้ว และปืนที่พกนี่เป็นปืนที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้พกได้

อ.จรัล :                         ถูกกฎหมาย ได้มีนักศึกษาบางคนพกบ้าง เพราะเวลานั้นรัฐบาล คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องการให้รัฐบาลออกกฎหมาย คล้าย ๆ และส่วนใหญ่มีปืนโดยถูกกฎหมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นปืนสั้นป้องกันตัวเอง ที่หลัง ๆ เค้าจับ ถ้าถามว่ามีอาวุธอะไร ก็ไม่มีหรอก อย่างมากก็ปืนสั้น ถ้าปืนสั้นก็มีกันไม่กี่คน เพราะปืนมันแพง ใครจะซื้อปืน นักศึกษาที่ไหนจะมีเงินเดือนซื้อ